การพัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอาหรับโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บัตรคำศัพท์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มการจดจำคำศัพท์ภาษาอาหรับโดยการจัด การเรียนรู้แบบใช้บัตรคำศัพท์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้บัตรคำศัพท์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงทดลอง ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/7 จำนวน 22 คน โรงเรียนมุสลิมสตูลวิทยา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้บัตรคำศัพท์ ผลการหาคุณภาพมีค่าความถูกต้องและค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ผลการหาคุณภาพมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.89 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ผลการหาคุณภาพมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้วัดติดตามผลของฟริดแมน พบว่า 1) แนวโน้มการจดจำคำศัพท์ภาษาอาหรับโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บัตรคำศัพท์มีแนวโน้มที่สูงขึ้น อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 และ S.D. = 0.48)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรอิสลามศึกษา พุทธศักราช 2546 (ฉบับปรับปรุง 2555). เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2567 จาก https://www.skprivate.go.th/group/detail/96/
เจนจิรา ขอนขว้าง. (2563). การพัฒนาทักษะทางด้านการจำคำศัพท์ภาษาจีน โดยใช้บัตรภาพพร้อมคำศัพท์ภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาจีน. มหาสิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณัฏฐกรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเสนอาร์แอนด์ดี.
พล เหลืองรังษี. (2568). การวิจัยทางหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: อะวา 2013.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
เฟรดาว สุไลหมาน และคณะ. (2563). การออกแบบบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษเทียบเสียงภาษาไทยขั้นสูงด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ยุวรีนิจ จีระเรืองวงษ์ และธรรศนันต์ อุนนะนันทน์. (2566). ผลของการใช้กิจกรรมบัตรคำศัพท์ร่วมกับชุดแบบฝึกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์และความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีนนทบุรี. วารสารวิชาการ ครูศาสตร์สวนสุนันทา, 7(2), 1-13.
วินัย สะมะอูน. (2556). ความสำคัญของภาษาอาหรับ หนังสืออนุสรณ์งานครบรอบ 30 ปีนักเรียนเก่าอาหรับ. เรียกใช้เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.islammore.com/view/459
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). ผลการทดสอบมาตรฐานอิสลามศึกษา (I-NET) อิสลามศึกษาตอนต้น (อิบตีดาอียะห์) ปีการศึกษา 2566. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2567 จาก https://allnetresult.niets.or.th/INET/AnnouncementWeb/
สาธิต โภคี. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.