ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล นักเรียน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบชนิดปรนัย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.53
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ชนกานต์ ฉิมวงศ์. (2565). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ (Collaborative strategic reading) ร่วมกับเทคนิค KWL Plus ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ชรินรัตน์ แดงนา และคณะ. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการจับใจความโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยาจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 23-30.
นภัสนันท์ ไกรทอง. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ (MIA). ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นันทิยา ประจันทร์เสน. (2561). ผลการสอนอ่านโดยใช้ผังกราฟิกที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ภัทราภรณ์ จำลองเพ็ญ. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เยาวรัตน์ การพานิช และคณะ. (2542). รายงานการวิจัยความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลออ คันธวงศ์. (2551). ผลการใช้กิจกรรมพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยนิทานพื้นบ้านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
วราภรณ์ พรมอินทร์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ Collaborative strategic reading. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ พูลสวัสดิ์. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบ MIA เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษของนกัเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สาวิตรี อินอุทัย. (2563). การสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุมาลี เพชรคง. (2561). ผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อำภา วิฬุวัน. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอคซ์ (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.