ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน ด้านการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อลดลง ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงและการตัดขา ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก การวิจัยกึ่งทดลองนี้มุ่งศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนด้านการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง 42 คน คัดเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายและแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 21 คน ใช้แนวคิดการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วย การประเมินสภาวะทางกาย ความพร้อมการให้ความรู้ การใช้ข้อมูล การใช้ตัวแบบ และการสร้างประสบการณ์ความสำเร็จจากกิจกรรมต้นแบบที่ดี การเก็บข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม 2567 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการดูแลเท้าซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และมีค่าความเชื่อมั่น ครอนบาคแอลฟา = 0.80 และ 0.95 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบไคสแควร์ ทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าหลังการทดลอง 1 เดือน และระยะติดตามผล 6 เดือน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) สรุปผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมมีประสิทธิผลในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค. (2564). รณรงค์วันเบาหวานโลก: หัวข้อ ACCESS TO DIABETES CARE: การเข้า ถึงการดูแลโรคเบาหวาน ถ้าไม่ใช่ตอนนี้ แล้วจะต้อง เมื่อไร. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2567 จาก httpshttps://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc&news_views=60
กรวรรณ ผมทอง และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของ ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(4), 109-118.
จิราภรณ์ ชิณโสม. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis (DKA): กรณีศึกษา. ชัยภูมิเวชสาร, 40(2), 115-132.
ชยพล ศิรินิยมชัย. (2561). การจัดการแผลเท้าเบาหวาน: บทบาทของพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), 1-14.
ตวงรัตน์ อินทรแสน. (2565). ผลของการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช, 1(1), 1-10.
บุญธง พิมพ์โคตร และธีรศักดิ์ พาจันทร์. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 31(1), 16-28.
พูนพงศ์ หุตะโชค. (2563). การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันการถูกตัดเท้า. เรียกใช้เมื่อ 4 มิถุนายน 2567 จาก https://www.phyathai.com/article_detail/2485/th/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. (2566). ระบบติดตาม ประเมินคุณภาพข้อมูลตามตัวชี้วัดคุณภาพ จังหวัดกำแพงเพชร. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2567 จาก http://203.157.168.50/cockpit65_ud/main/new_index2.php?stg_group_id=6&
อานนท์ สังขะพงษ์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบ รู้ทางสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 55-62.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Engle wood Cliffs, New Jersey: Prentice.
Embuai, S. et al. (2019). Effect of Foot Exercise and Care on Peripheral Vascular Status in Patients with Diabetes Mellitus. Jurnal Ners, 14(3), 5-12.
Frisca, S. (2021). Effectiveness Diabetes Self-Management Education (DSME) to Foot Care Behaviour and Foot Condition in Diabetes Mellitus Patient. The 4th International Virtual Conference on Nursing (IVCN), 2021, 1069-1077. DOI: https://shorturl.asia/dB1RZ
Kim, A. (2023). Daily Life Management Guidelines for Diabetic Foot Patients. The Journal of Korean Diabetes, 24(4), 214-220.
Makiling, M. & Smart, H. (2020). Patient-centered health education intervention to empower preventive diabetic foot self-care. Advances in Skin & Wound Care, 33(7), 360-365.
Oluchi, S. E. et al. (2023). Improving Foot Self-care Practices Through Health Education Intervention Programs Among Diabetic Patients: A Systematic Review. Malaysian Journal of Medicine & Health Sciences, 19(4), 315-325.
Schaper, N. C. et al. (2017). Prevention and management of foot problems in diabetes: a summary guidance for daily practice 2015, based on the IWGDF guidance documents. Diabetes Research and Clinical Practice, 32(1), 7-15.