การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบวิธีในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมคุณธรรมจริยาธรรมนักเรียนของ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน และครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) และ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) วิเคราะห์ข้อมูล การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ด้านความอดทน อดกลั้น รองลงมา คือ ด้านความรับผิดชอบ และด้านที่ต่ำที่สุด ด้านความซื่อสัตย์ พิจารณาแต่ละด้าน ได้ดังนี้ 1) ด้านความซื่อสัตย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา พบว่า ส่งเสริมให้นักเรียนมีความประพฤติตามหลักคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2) ด้านความรับผิดชอบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา พบว่า ส่งเสริมให้นักเรียนยึดหลักการดำเนินชีวิตในรูปวิถีอิสลาม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด มอบหมายงานให้นักเรียนรับผิดชอบ 3) ด้านความเสียสละ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณ พบว่า สละเวลาให้กับองค์กรศาสนาตามความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนร่วม 4) ด้านความอดทนอดกลั้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญจน์คหัฐ ปิยะกาญจน์. (2553). วิธีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันตก. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุหงา วชิระศักดิ์มงคล. (2557). ภาวะผู้นำทางวิชาการ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรีชา อยู่ภักดี. (2551). การปฏิบัติตนตามคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สพท. ชัยภูมิ เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.
พรศักดิ์ ทับทิมหิน. (2551). การปฏิบัติตนตามคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิด เห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พระปลัดจักรกฤษณ์ วุฒธิยา. (2553). “การศึกษาวิสัยทัศน์ด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด”. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศักดิ์ดา ลาวัง. (2552). การศึกษาพฤติกรรมการบริหารคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตหนองจอก.
สันติ บุญภิรมย์. (2557). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลเอ็ดคูเกชั่นกรุ๊ป.
สุทัศน์พงษ์ กุลบุตร. (2550). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา. 2550. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานาคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุพรรณี อาวรณ์ และแก้วเวียง นำนาผล. (2557). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านการคิด วิเคราะห์โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 9(2), 71-80.
Davis, K. & Newstrom, J. W. (1989). Human behavior at work organizational behavior. New York: McGraw-Hill Book.