แนวทางการบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะเปลือกมะพร้าวเหลือทิ้งภายใต้เป้าหมายขยะเป็นศูนย์ (Zero waste) และเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City: LCC)

Main Article Content

หนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์
ลินดา เกณฑ์มา
บูรณจิตร แก้วศรีมล
สุนทรียา กาละวงศ์
ธนปพน ภูสุวรรณ
พรชัย พรหฤทัย
ธงชัย ศรีเมือง
จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะเปลือกมะพร้าวเหลือทิ้งภายใต้เป้าหมายขยะเป็นศูนย์ และเมืองคาร์บอนต่ำ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานประชากร คือ เกษตรกรสวนมะพร้าวน้ำหอม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 50 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณการ 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเน้นมิตรกับการเป็นสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ชุมชนจะต้องมีการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่สำคัญ คือ การพัฒนาสังคมเป็นเมืองคาร์บอนที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจตลอดถึงความตระหนักในการที่จะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการสร้างสรรค์ทั้งในเรื่องของการประกอบอาชีพการทำนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเครื่องมือของการทำการเกษตรหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ ของผลลัพธ์ของการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะแปรรูปจากวัสดุท้องถิ่นหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ มาเป็นในรูปของขยะ ซึ่งปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ ในเรื่องของการจัดการทางด้านของขยะชุมชนด้วยขยะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและการทำให้โลกร้อนขึ้น ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมการบริหารจัดการและการแก้ปัญหาสังคมคาร์บอนต่ำและจะทำให้ชุมชนนั้นเกิดเป็นชุมชนแห่งความยั่งยืนและมีการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักรักษ์สิ่งแวดล้อม

Article Details

How to Cite
เอกธรรมทัศน์ ห., เกณฑ์มา ล. ., แก้วศรีมล บ. ., กาละวงศ์ ส. ., ภูสุวรรณ ธ. ., พรหฤทัย พ. ., ศรีเมือง ธ. ., & วิมุตติปัญญา จ. . (2024). แนวทางการบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะเปลือกมะพร้าวเหลือทิ้งภายใต้เป้าหมายขยะเป็นศูนย์ (Zero waste) และเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City: LCC). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 175–182. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/283214
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). คู่มือการพัฒนามูลค่าเพิ่ม (Value Creation Handbook). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพาณิชย์.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2557). รายงานดุลยภาพพลังงานของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพลังงาน.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2559). ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.

ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชาญศักดิ์ อภัยนิพัฒน์. (2549). เทคนิคการออกแบบระบบแสงสว่าง (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).

ชำนาญ ห่อเกียรติ. (2550). เทคนิคการส่องสว่าง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

Koonsrisuk, S. et. al. (2009). Development and Technology Transfer for Processing of Composting by Wastes from Coconut Processing in Prajuapkirekhan Province. Bangkok: King Mongkut’s University Technology Thonburi.

Siranee, W. & Bancha, R. (2018). Effects of media mixed with local residues in Narathiwat Province for Lactuca sativa var. Khon Kaen Agricultural Journal, 3(6), 46-54.

Streeter, J. (2007). Plant Nutrient Hartmann’s Plant Science: Growth, Development and Utilization of Cultivated Plants. New Jersey: Pearson, Upper Saddle River.

Thaipublica, S. (2022). Low Carbon. Retrieved May 6, 2023, from https://thaipublica.org/2022/07/scg-drives-low-carbon-society/

Tripetchkul, S. et al. (2012). Co-composting of coir pith and cow manure: Initial C/N ratio vs physico-chemical changes. Journal of InternationalJournal of Recycling of Organic Waste in Agriculture, 1(15), 1-8.

Wolf, B. (1999). The Fertile Triangle: The Interrelationship of Air, Water and Nutrients in Maximizing Soil Productivity. Journal of The Haworth, 1(3), 212-218