บทบาทเส้นทางการค้าโลกข้ามคาบสมุทรภาคใต้ของไทยที่ส่งผลต่อความเชื่อ : กรณีศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในพื้นที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 - 18

Main Article Content

พระมหาธงชัย วณฺณวีโร
พระครูวิจิตรศีลาจาร .
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล .
สิทธิโชค ปาณะศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาบทบาทเส้นทางการค้าโลกข้ามคาบสมุทรภาคใต้ของไทยที่ส่งผลต่อความเชื่อ : กรณีศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในพื้นที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 - 18 โดยพบว่าบทบาทและอิทธิพลของเส้นทางการค้ามีผลต่อความเชื่อทางศาสนาในพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 - 18 ซึ่งในอดีตกาล คือ จุดสำคัญที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์สองฝั่งอารยธรรมทางทะเลของโลกที่มีพัฒนาการตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรุ่งเรืองสุดขีด มีการเสื่อมถอยและเจริญเฟื่องฟูตามปัจจัยทางด้านการค้าและการเมืองการปกครอง โดยปรากฏหลักฐานบันทึกการเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานการอยู่อาศัยกระจายไปตลอดคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น ถ้วยชาม พระพุทธรูป โบราณสถาน และจากบันทึกของนักเดินทางที่สะท้อนถึงการติดต่อค้าขายพบปะแลกเปลี่ยนของผู้คนมาตลอดเวลาโดยใช้ช่องทางเชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน ซึ่งเส้นทางการค้านี้เองก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญต่อ การเผยแผ่และการเปลี่ยนแปลงของพระพุทธศาสนาในพื้นที่อำเภอไชยาสืบเนื่องต่อมา กระทั่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคตินิยมและแนวคิดส่งผลให้เกิดนักปราชญ์ที่ได้รับการยอมรับเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านสันติภาพ ดังเช่น ท่านพุทธทาสภิกขุแห่งสวนโมกขพลาราม รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ ประเพณีชักพระ ประเพณีเดือน 10 ของชาวภาคใต้ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาข้อมูลนี้สามารถนำเสนอ เพื่อต่อยอดให้เส้นทางการค้าโลกข้ามคาบสมุทรภาคใต้ของไทยได้เป็นแหล่งมรดกความทรงจำของโลกต่อไป

Article Details

How to Cite
วณฺณวีโร พ. ., . พ., . พ., & ปาณะศรี ส. . (2024). บทบาทเส้นทางการค้าโลกข้ามคาบสมุทรภาคใต้ของไทยที่ส่งผลต่อความเชื่อ : กรณีศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในพื้นที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 - 18. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(12), 85–95. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/282974
บท
บทความวิชาการ

References

ชวน เพชรแก้ว และสบาย ไสยรินทร์. (2544). สุราษฎร์ธานีของเรา. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.

ธรรมทาส พานิช. (2543). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยศรีวิชัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด เม็ดทรายพริ้นติ้ง.

นันทลักษณ์ คีรีมา. (2555). พระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-21. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะคณะโบราณคด. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภัคมน ทองเฝือ. (2564). ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นโบราณคดี ณ เมืองโบราณไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

ปรีชา นุ่นสุข. (2548). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย. ใน รายงานวิจัย. คณะกรรมการวิจัยการศึกษาการศาสนาและการวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ.

ปวินนา เพ็ชรล้วน. (2564). ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับประติมากรรมวฑุกะไภรวะ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 270-292.

พระประชา ปสนฺนธมฺโม. (2535). เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิทำทานกุศลจิต.

พระมหาธงชัย วณฺณวีโร. (2561). การศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมปอง มุทิโต. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (2557). ปฐมบทพระพุทธศาสนาในภาคใต้ ประเทศไทย : หลักธรรมและหลักฐานโบราณคดี. นครศรีธรรมราช: ไทม์ พริ้นติ้ง จำกัด.

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. (2560). ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ. 2000. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.