การพัฒนาโปรแกรมจิตสังคมบำบัดเชิงรุกของคลินิกก้าววันใหม่ เพื่อบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในงานบำบัดรักษาผู้เสพยา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรมจิตสังคมบำบัดเชิงรุก 2) พัฒนาโปรแกรมจิตสังคมบำบัดเชิงรุก และ 3) ประเมินผลการใช้โปรแกรมจิตสังคมบำบัดเชิงรุกของคลินิกก้าววันใหม่ โรงพยาบาลนาดี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารโรงพยาบาล พยาบาลในคลินิกก้าววันใหม่ ผู้เข้ารับการบำบัดและผู้เกี่ยวข้อง และบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 คน และประชาชนในอำเภอนาดี ที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลนาดี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 323 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ บุคลากรกลุ่มงานบริหารโรงพยาบาลนาดี บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวม 10 คน และผู้รับการบำบัดอาการติดยา จำนวน 30 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนความต้องการจำเป็นใช้การวิเคราะห์ดัชนี PNI และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่กำหนด ผลการศึกษาพบว่า 1) งานบำบัดมีปัญหาด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสาร และการสร้างการมีส่วนร่วม 2) โปรแกรมจิตสังคมบำบัดเชิงรุกมี 6 ขั้นตอน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องในระดับมากที่สุด และ 3) สุขภาวะของผู้เข้ารับการบำบัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.28, S.D. = .490) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้เข้ารับการบำบัดอาการเสพยามีสุขภาวะที่ดีอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณทิวา มุณีแนม. (2562). แนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชฎากาญจน์ ชาลีรัตน์ และยอดชายสุวรรณวงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูด้วยแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และพลังภาคีเครือข่ายสำหรับผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจในจังหวัดสระบุรี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 2(1), 49-68.
ทวียศ ศรีเกตุ. (2557). ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
นีรนุช โชติวรางกูล. (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้ร่วมกับการบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรมในผู้ป่วยยาเสพติดเพื่อป้องกันการเสพซ้ำ. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3, 18(3), 203-224.
วนิตตา พิทยาเรืองนนท์. (2565). ปัญหาในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด: กรณีศึกษาในสถานพยาบาลของรัฐ. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 94-102.
สิดาพร พงษ์ประพันธ์ และคณะ. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้เสพติดเฮโรอีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่ศูนย์ลดอันตรายจากการใช้ยาและสารเสพติด. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J. W. & Kahn, J. V. (2006). Research in Education. Cape Town: Pearson Education Incorporation.
Burns, N. & Grove, S. K. (2017). The Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis and Generation of Evidence. (8th ed.). Missouri: Elsevier Saunders.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Corey, G. (2017). Theory and practice of counseling and psychotherapy. (10th ed.). New York: Cengage Learning.
Delbecq, et al. (1975). Group techniques for program Planning: A guide to nominal group and Delphi processes. Illinois: Scott, Foresman, and Company.
Krueger, R. A. & Casey, M. A. (2008). Focus Groups: A Practical Guide for Applied Research. Ventura County: Sage Publications.