ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ส่วนประสมทางการตลาด 2) การตัดสินใจซื้อ 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัยใช้สถิติใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานแบบ t-test, F-test (One-way ANOVA) และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 51 - 60 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพธุรกิจส่วนตัวเจ้าของกิจการ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 - 50,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก นอกจากนี้ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ย ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาผู้ประกอบการ ควรมีการทำวิจัยตลาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และค้นหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและปลอดภัยในการบริโภค ควรกำหนดราคาให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ มีช่องทางการให้บริการมีความหลากหลายมากขึ้น และควรมีกิจกรรมส่งเสริมการขายสม่ำเสมอ เช่น ส่วนลด ของแถมและโปรโมชั่นที่น่าสนใจและจัดอยู่ต่อเนื่องเพื่อเพิ่มยอดขายอาหารเสริมแบรนด์เดอไร่ไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการค้า. (2564). เกาะติดสถานการณ์การค้า. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2567 จาก https://www.ditp.go.th
ขวัญชนก พจนานุสรณ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราสินค้าอมาโด้ทางช่องทางออนไลน์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสยาม.
ณัฐกุล วงศ์กา. (2566). ศึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านแพลตฟอร์ม Facebook ในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ธนินท์รัฐ โรจนชัยพงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมบำรุงผิวชนิดเม็ดของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายใน เขตพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นัทธมน เดชประภัสสร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางอินเทอร์เน็ต. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บัณฑิตา แสงสิทธิศักดิ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
ปัญญาพร เศรษฐวานิชนนท์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภาวิณี ตันติผาติ และคณะ. (2554). การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 1(1), 1-19.
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2565). การดูแลสุขภาพของคนไทย. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2567 จาก https://suandusitpoll.dusit.ac.th
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). แนวโน้มการตลาดอาหารเสริม. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2567 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/Pages/10100.aspx
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2566). ดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนเมษายน 2566. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2567 จาก http://www.tpso.moc.go.th/th