จรณทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด

Main Article Content

ศศิพร คุ้มวงศ์ดี
ฬิฏา สมบูรณ์
เริงวิชญ์ นิลโคตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจรณทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจรณทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครู และ 4) สร้างสมการพยากรณ์จรณทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด จำนวน 306 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับจรณทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.19, S.D. = 0.47) 2) ระดับความผูกพันต่อองค์การของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.22, S.D. = 0.49) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างจรณทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์การของครูมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) จรณทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูมีผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ เท่ากับ .722 และอำนาจพยากรณ์ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู ร้อยละ 52.10 สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ equation = 0.950+ 0.315 (X5) + 0.287 (X1) + 0.172 (X2) และสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน equationy = 0.329 (X5) + 0.295 (X1) + 0.173 (X2) สรุปได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีทักษะการบริหารงานที่มีคุณภาพจะส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มความผูกพันของครูต่อองค์การ ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
คุ้มวงศ์ดี ศ. ., สมบูรณ์ ฬ. ., & นิลโคตร เ. . (2024). จรณทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(11), 136–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/282210
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). รู้จัก “วงจรคนเหนื่อย" เหนื่อยที่ใจ ทำไมส่งผลกับงาน. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1039144.

คมกริช บุญพรม และประยุทธ ชูสอน. (2562). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLS ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนชายขอบ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(26), 178-187.

จิรัชญา ไชยชุมคุณ. (2564). ภาระงานล้น แต่เงินน้อย สรุปปัญหา #ทำไมครูไทยอยากลาออก เมื่อครูถูกผลักให้เป็นผู้เสียสละ. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2567 จาก https://thematter.co/social/education/why-thai-teachers-wanna-quit/160415

เฉลิมขวัญ เมฆสุข และประสพชัย พสุนนท์. (2560). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สยามฟิตติ้งส์ จำกัด. วารสาร ธุรกิจปริทัศน์, 9(1), 33-50.

ณัฏฐนันท์ เศวตพงศ์. (2566). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 3(1), 140-149.

ณัฐวรรณ แสงอุรัย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์กรและความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของบุคลากรโรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(4), 760-768.

ถาวร อ่อนลออ. (2561). ความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 101-116 .

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ทิพยรัตน์ กาประสิทธิ์ และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาจรณทักษะ (Soft Skills) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 25(1), 95-114.

ไทยพีบีเอส. (2567). ความสุขคนไทยลด ปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้น. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2567 จาก https://policywatch.thaipbs.or.th/article/life-16

ปกรณ์ ประจันบาน. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ปกรณ์ โปรยรุ่งโรจน์ และณกมล จันทร์สม. (2564). ปัจจัยด้านจรณทักษะ (Soft Skill) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(42), 117-128.

รวิวรรณ เลี่ยมสุวรรณ์ และอุไร สุทธิแย้ม. (2566). ทักษะด้าน Soft Skills ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 25(1), 163-176.

ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช และคณะ. (2561). ความผูกพันต่อองค์กรและความตั้งใจที่จะลาออกของเภสัชกรในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกรณีศึกษาโรงพยาบาลในจังหวัดทางภาคใต้จังหวัดหนึ่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะ, 11(2), 498-508.

วาริษา ประเสริฐทรง และวัลลภา อารีรัตน์. (2558). ทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLS ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. Journal of Education Khon Kaen University, 38(2), 88-95.

สาวนีย์ สิทธิชัยจารุเมธี และสุชาดา บุบผา. (2565). Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 2169-2184.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด. (2566). รายงานการดำเนินงานตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ 2565. จันทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2557). จรณทักษะ. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2567 จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดจันทบุรี (พ.ศ. 2566 - 2570). จันทบุรี: สักงานศึกษาธิการจังหวัด.

สุรางค์ ลิ้มเจริญ และพรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ. (2558). การบริหารงานวิชาการกับความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปราจีนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 69-78.

เฮชโฟกัส. (2566). ภาวะสังคมไทย 2565 ป่วยซึมเศร้าพุ่งสูง แนวโน้มวัยรุ่น - วัยทำงานฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2567 จาก https://www.hfocus.org/content/2023/03/27358.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Dean, S. A. (2017). Soft Skills Needed for the 21st Century Workforce in Doctor of Business. Administration: Walden University.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Linked learning. (2018). 2018 Workplace Learning Report. Retrieved January 7, 2024, from https://learning.linkedin.com/resources/workplace-learning-report-2018?src=liscin&veh=7010d000001BicLAASv2&cid=7010d000001BicLAAS&bf=1