ความต้องการและความคาดหวังในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยชินวัตร

Main Article Content

สาริศา เจนเขว้า
เสวียน เจนเขว้า
ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา
สมพร ยอดดำเนิน
จีรัฏฐ์ สินธุอารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 2) ศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยชินวัตร 3) ศึกษาความคาดหวังในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยชินวัตร กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูในสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 205 คน และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อวันเวลาที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.30 น. เรียนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่และในชั้นเรียนเป็นบางครั้ง หลักสูตรได้รับการรับรองจาก อว. /คุรุสภา และสนใจศึกษาต่อปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยชินวัตร 2) ความต้องการในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยชินวัตร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา และด้านข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร 3) ความคาดหวังในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยชินวัตร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา และข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร

Article Details

How to Cite
เจนเขว้า ส. ., เจนเขว้า เ. ., รัตนพิทักษ์ธาดา ช. ., ยอดดำเนิน ส., & สินธุอารีย์ จ. . (2024). ความต้องการและความคาดหวังในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยชินวัตร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(11), 64–74. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/281723
บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์วรา ใจอาสา และสหภาพ พ่อค้าทอง. (2566). เส้นทางการตัดสินใจ ความต้องการ แรงจูงใจ และความคาดหวังในการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท ของกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 9(3), 516-528.

พงศ์กร จันทราช. (2566). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(2), 121-136.

ปรีดี ทุมเมฆ และคณะ. (2564). ความต้องการศึกษาต่อและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(1), 191-200.

สายน้ำผึ้ง บุญมา และคณะ. (2565). ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารราชนครินทร์, 19(2), 60-67.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2565). ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2565. เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2567 จาก https://www.kroobannok.com/90580

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อภินภัศ จิตรกร. (2566). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 36(2), 1-15.

Admission Premium. (2565). 5 เหตุผล ทำไมต้องถึงเรียนต่อโท? Retrieved สิงหาคม 22, 2567, from https://www.admissionpremium.com/masterdegree/th/article/631#google_vignette

Best, J. W. & James, V. K. (1997). Research Education. (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed). New York: Harper Collins Publishers.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.