การประยุกต์ใช้หลักสัมมาวาจาในการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมของ ชุมชนตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมของชุมชนตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาหลักสัมมาวาจาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักสัมมาวาจาในการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมของชุมชนตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยจะสำรวจและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ประมวลความ สรุปผล และนำเสนอในรูปแบบการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สังคมพหุวัฒนธรรม เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติและศาสนา การอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรมของชุมชนตำบลสำนักแต้วเป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน และดำเนินชีวิตตามหลักการทางศาสนาที่ตนเคารพนับถือ ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม 2) สัมมาวาจา หมายถึง การเว้นจากการพูดไม่ดีหรือพูดทุจริตทางวาจา ประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่ 2.1) การงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ 2.2) งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน 2.3) งดเว้นจากการพูดคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษเพราะหู ชวนให้รัก จับใจ 2.4) ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดแต่คำ ที่เป็นจริง 3) การประยุกต์ใช้หลักสัมมาวาจาในการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมของชุมชนตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม วาจาเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ ถ้าใช้คำพูดที่เหมาะสมก็จะเป็นการสร้างความรักความสามัคคีทั้งระดับ ครอบครัว ชุมชน สังคม และสามารถอยู่ร่วมกันได้ภายในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยรัตน์ คำคูณเมือง. (2560). “พุทธวิธีการใช้หลักสัมมาวาจาในการสร้างคุณธรรมเพื่อธุรกิจขายตรง”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาธรรมนิเทศ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .
ณัฏฐินี ปิยะศิริพนธ์. (2561). ชุมชนพหุวัฒนธรรมท่ามกลางวาทกรรมชาตินิยมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย. วารสารรัฏฐาภิรักษ, 60(2), 66-71.
พระครูปลัดไพรัช จนฺทสโร (กาญจนแก้ว). (2561). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการ วัดหงส์ประดิษฐาราม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 285-294.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระมหาคำพอง สทฺทวโร (วันจะนะสุข). (2561). “การจัดการศึกษาเพื่อสันติภาพของชาวพุทธและมุสลิมในชุมชนวัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวีระพจน์ ชาครธมฺโม (ผลจันทร์). (2561). “การมีส่วนร่วมของสตรีชาวพุทธในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษาชุมชนบ้านนอก ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมชาย ปโยโค (ดำเนิน). (2554). การประยุกต์ใช้สัมมาวาจาเพื่อการบริหารงานของผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
พระอนุรักษ์ อนุรกขิโต (รัฐธรรม). (2562). “การศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์ของสัมมาวาจาในสถาบันครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช”. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2541). ธรรมะสร้างเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
อมรา พงศาพิชญ์. (2557). มนุษย์กับวัฒนธรรม สังคมและวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.