โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับการสร้างเสริมสุขภาพ และกลุ่มวัยตามกฏบัตรออตตาวาชาร์เตอร์

Main Article Content

วาสนา บุณยมณี
กุลธฺรัตน์ ใสสีสูบ
หทัยรัตน์ กระต่ายน้อย
สุพิศ กุลชัย
นภารินทร์ นวลไธสง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย ตามกฏบัตรออตตาวาชาร์เตอร์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในประเทศไทย ซึ่งเป็นปฐมบทการสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยโดยดำเนินการตามแนวคิดกฎบัตรออตตาวาร์ชารเตอร์ ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 5 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 2) การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพโดยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและจัดสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินชีวิต 3) การเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข็มแข็งสนับสนุนการพึ่งตนเองของชุมชน 4) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล โดยการส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาบุคคลและสังคมด้วยข้อมูลข่าวสาร เสริมทักษะชีวิต และ 5) การปรับระบบบริการสาธารณสุข กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ สื่อสารกับหน่วยงานภายนอกมากขึ้น โดยสอดคล้องและเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ตามกลุ่มวัย 5 กลุ่มวัยโดยมีเป้าหมายการดูแลสุขภาพดังนี้ กลุ่มมารดาและทารก อัตราส่วนการตายของ มารดาต่อ แสนการเกิดมีชีพไม่เพิ่มขึ้น กลุ่มเด็กปฐมวัย พัฒนาการ สมวัย และภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ กลุ่มเด็กนักเรียน ภาวะทุพโภชนาการ ปกติ กลุ่มวัยรุ่นมีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และอัตราการคลอดมีชีพของหญิงอายุ 15 ถึง 19 ปี ลดลง กลุ่มวัยทำงาน ภาวะเมตาบอลิคซินโดรม ลดลง และกลุ่มผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายการสร้างเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย ในภาพรวม กำหนดให้มีการส่งเสริมสุขภาพมารดาทารกและเด็กวัยเรียนให้แข็งแรงและฉลาด ส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงานและวัยสูงอายุที่พึงประสงค์ เพื่อให้เป็นหลักชัยของสังคมอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
บุณยมณี ว. ., ใสสีสูบ ก. ., กระต่ายน้อย ห. ., กุลชัย ส. ., & นวลไธสง น. . (2024). โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับการสร้างเสริมสุขภาพ และกลุ่มวัยตามกฏบัตรออตตาวาชาร์เตอร์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(11), 107–114. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/281152
บท
บทความวิชาการ

References

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ. (2565). รายงานการประชุมกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ. เรียกใช้เมื่อ 7 ตุลาคม 2567 จาก https://dopah.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/219665

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2565). คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.

เจษฎากร โนอินทร์ และธรณินทร์ เสนานิมิต. (2567). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเกษตรอินทรีย์บางกระทุ่ม. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(6), 196-211.

ฉัตรนภา พรหมมา, และคณะ. (2564). คู่มือเสริมสมรรถนะผู้นำขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ หลักสูตรแนวคิดและหลักการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion Theory & Methodology) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสังคมสุขภาวะของภาคีเครือข่ายภาคเหนือ. อุตรดิตถ์: ศูนย์บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ญนัท วอลเตอร์ และวรารัตน์ ทิพย์รัตน. (2562). สมรรถนะและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการระดับปฐมภูมิ พื้นที่ภาคใต้. วารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้, 6(3), 41-53.

ฐาวรี ขันสำโรง. (2562). บทบาทและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตร ออตตาวาชาเตอร์ของ พระภิกษุและสามเณรที่พำนักวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(1), 181-198.

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2564 ก). หลักการส่งเสริมสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2564 ข). การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน แนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มุกดา สุทธิแสน. (2560). พัฒนาการการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้บริบทของชุมชนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกรณีศึกษา ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรัณญา เบญจกุล และคณะ. (2563). คู่มือวิชาการแนวคิดและหลักการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับภาคเครือข่ายสสส.บทที่ 2 ระบบสุขภาพและแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สํานกงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

โสภิต จำปาศักดิ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคสำหรับเด็กแรก เกิด ถึง 5 ปี ในคลินิกเด็กดีของสถานีอนามัยเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลพิจิตร. วารสารกรมการแพทย์, 43(6), 30-37.

อลิสา ศิริเวชสุนทร. (2556). แนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(2), 94-102.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, และคณะ. (2563). คู่มือวิชาการแนวคิดและหลักการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับภาค เครือข่ายสสส.บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานการพัฒนาสังคมกับการสร้างเสริมสุขภาวะ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานกองทุนนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

Pender, N. J. et al. (2006). Health promotion in nursing practice. (4th ed). NewJersey: Upper Saddle River.

World Health Organization. (1986). Ottawa charter for health promotion. Canada: World Health Organization.