ตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษา 2) ศึกษาระดับตัวบ่งชี้การบริหาร โดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ในปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย จากตารางเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 313 คน ดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยเทียบสัดส่วนของประชากรกับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด จากนั้นใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบเครื่องมือด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เลือกใช้ข้อที่มีเกณฑ์ระหว่าง .50-1.00 ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ .979 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1.1) ภาวะผู้นำนวัตกรรมของผู้บริหาร 1.2) การนํานวัตกรรมเข้าสู่ระบบการจัดการความรู้ในระบบสารสนเทศและการกระตุ้นจูงใจ 1.3) เครือข่ายความร่วมมือ และ 1.4) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรม และ 2) ระดับการบริหารโดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยอันดับแรกจนถึงอันดับสุดท้าย ได้แก่ 2.1) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรม 2.2) เครือข่ายความร่วมมือ 2.3) ด้านการนํานวัตกรรมเข้าสู่ระบบการจัดการความรู้ในระบบสารสนเทศและการกระตุ้นจูงใจ และ 2.4) ด้านภาวะผู้นำนวัตกรรมของผู้บริหาร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญชนนก แสงท่านั่ง. (2563). ศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(7), 153-168.
ณปภาพร จันทร์ดวง และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2566). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 20(39), 144-150.
ณัฐปภัสร์ สกุลพัฒน์รดา และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2565). การเป็นองค์กรนวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปการจัดการ, 6(4), 1844-1861.
ณัฐพงศ์ เส็งดอนไพร และสมใจ สืบเสาะ. (2566). ศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(3), 69-83.
ณัฐวราพร หลอดแก้ว และสมใจ สืบเสาะ. (2565). นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. Journal of Administrative and Management Innovation, 10(1), 67-75.
นเรศวร์ เศรษฐสิงห์ และชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2566). การพัฒนานวัตกรรมการบริหารในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 11(2), 275-285.
นวชล สมบูรณ์สิน. (2564). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปานชนก ด้วงอุดม. (2562). สภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ภรกนก สายชล. (2565). ศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 ที่สัมพันธ์กับการใช้นวัตกรรมในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการวิจัย, 6(3), 892-904.
ภัทรหทัย ภู่สวัสดิ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ยุทธนา สิทธิการ. (2565). ศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา, 3(2), 37-52.
รัตนวดี โมรากุล. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบองค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ลภัสรดา น้อยเอี่ยม และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2565). การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์. บัณฑิตศึกษาปริทัศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 10(1), 97-108.
ศุภวิชช์ วงษ์พลบ และคณะ. (2566). องค์กรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา. วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 6(1), 131-140.
สมศักดิ์ เอี่ยมดี และคณะ. (2565). การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(ฉบับพิเศษ), 216-224.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ: กรณีตัวอย่างโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุทิน เจริญอินทรา และมณฑา จำปาเหลือง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1744-1755.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2564). นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษายุคใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 975-984.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เดือนเพ็ญ พวงทอง และกิตพิณิฐ อุษาโห. (2566). ศึกษาวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายอำเภอบ้านดุงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน, 2(1), 299-314.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading. Attitude Theory and Measurement (4th ed). New York: Me graw-Hill.
Shawn Smith. (2565). 4 วิธีของการเริ่มต้นเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของโรงเรียน. เรียกใช้เมื่อ 25 กรกฎาคม 2567 จาก https://n9.cl/rz271