การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและหลักศาสนาอิสลามมาประยุกต์เพื่อการอยู่ร่วมกัน เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งที่สืบเนื่องจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานในการปลูกฝังให้คนในสังคมเกิดการรับรู้และปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ ตลอดจนยอมรับความแตกต่างนั้น จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศไทย มีพรมแดนติดต่อกับตอนเหนือของประเทศมาเลเซียเป็นพื้นที่มีขนบธรรมเนียมและประเพณีที่แตกต่างกับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย มีอัตลักษณ์พิเศษเป็นของตนเอง และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและเป็นที่ยอมรับกันว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นดินแดนแห่ง “พหุวัฒนธรรม” คือ เป็นดินแดนที่ประชาชนในชุมชนมีความเชื่อความศรัทธาต่างกัน มีสภาพสังคม ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่าง แนวคิดการพัฒนาการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรมนั้น ประกอบด้วย การให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การสร้างจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองของคนในชุมชน การใช้ทรัพยากรในชุมชน การสร้างความคิดริเริ่มของคนในชุมชน และการสร้างความร่มมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้แนวทางการนำเอาหลักธรรมทางศาสนามาประยุกต์ในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นหลักธรรมพื้นฐานของแต่ละศาสนา นั่นคือ ในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักเบญจศีล เบญจธรรม และสังคหวัตถุ 4 ส่วนหลักคำสอนทางศาสนาอิสลาม ได้แก่ หลักศรัทธา 6 และการปฏิบัติตามหลักศรัทธา 5 ประการ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันของชาวมุสลิม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของคนในชุมชนพหุวัฒนธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญชาติ กล้าหาญ. (2543). แนวทางการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธีในพหุสังคม: ศึกษาเฉพาะกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
คอลัฟ ต่วนบูละ และคณะ. (2559). การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดน ภาคใต้กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันพระปกเกล้า.
ตายูดิน อุสมาน และคณะ. (2554). เทคนิคและกระบวนการจัดการความขัดแย้งในสังคมพหุวัฒนธรรมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม และคณะ. (2563). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยกรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(3), 315-324.
พระมหายุทธนา นรเชฏโฐ และคณะ. (2559). ศึกษาวิเคราะห์หลักการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย: กรณีศึกษาชุมชนชาวพุทธและมุสลิมในชุมชนวัดท่าการ้อง ตำบลบ้านป้อม อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 40-61.
พระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน และคณะ. (2564). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(1), 176-189.
สิทธิโชค ปาณะศรี และคณะ. (2561). พหุวัฒนธรรมในมุมมองของปรัชญาหลังนวยุค. วารสารเซนต์จอห์น, 21(28), 31-46.
อภิญญา ดิสสะมาน. (2565). ถอดบทเรียนชุมชนสันติสุขภายใต้สันติวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนบึงคอไห ตำบลบึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และชุมชนในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. ใน รายการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า.
อีสมาแอ กาเต๊ะ. (2561). วะสะฎียะฮฺในอิสลามกับการอยู่ร่วมกันท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรมด้านความเชื่อและความคิด. วารสารวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 9(1), 32-48.
อุทัย ภูคดหิน และคณะ. (2565). พหุวัฒนธรรม: การอยู่ร่วมกันของชุมชนตามแนวสาราณียธรรมเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2313-2325.
Chiewonpipat, C. et al. (2004). Administration. Bangkok: Thammasat University.