การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวิธีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนโดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17 แหล่ง 2) การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เครื่องมือวิจัยผ่านการพิจารณาตรวจสอบโดยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำนวน 2 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 30 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความยุติธรรม 5 ตัวบ่งชี้ 2) ความซื่อสัตย์ 5 ตัวบ่งชี้ 3) ความไว้วางใจ 5 ตัวบ่งชี้ 4) ความรับผิดชอบ 5 ตัวบ่งชี้ 5) ความน่าเคารพนับถือ 5 ตัวบ่งชี้ และ 6) ความเป็นพลเมืองดี 5 ตัวบ่งชี้ ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ความรับผิดชอบ 2) ความเป็นพลเมืองดี 3) ความยุติธรรม 4) ความน่าเคารพนับถือ 5) ความซื่อสัตย์ และ 6) ความไว้วางใจ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารควรนำองค์ประกอบเหล่านี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการฝึกอบรมผู้บริหารโรงเรียนให้มีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมดังกล่าว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
เชี่ยวชาญ ภาระวงค์ และคณะ. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(7), 104-116.
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2564). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย (Citizenship in Thailand). เรียกใช้เมื่อ 29 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M10_452.pdf
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์. (2565). ประเด็นคัดสรรว่าด้วยความหมายและความสำคัญสำหรับการศึกษาภาวะผู้นำ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 365-378.
รัชนีวรรณ สุวรรณชัยรบ. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
รุจน์ กาเรือนทรง. (2567). การเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก. เรียกใช้เมื่อ 29 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.sw2.ac.th/images/user/root/soc31101/5soc.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัย สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา รอดระกา. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทากรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561 จาก https://e-thesis.snru.ac.th/file_thesis/2020061661421229128_fulltext.pdf
สุบัน มุขธระโกษา. (2561). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(2), 45-51.