ศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพของชาวพุทธ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พระชัชฤทธิ์ ชินวโร (สนิยา)
พระครูวิจิตรสาธุรส เตชธมฺโม (แก้วมณี)
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล อนุวฑฺฒโน (ปานประดิษฐ์)
พระครูวิจิตรศีลาจาร ชาตวณฺโณ (กิติโกฬะ)
สิทธิโชค ปาณะศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพของชาวพุทธ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพของชาวพุทธ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 20 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความตายเป็นเรื่องปกติ สาระแห่งการตายสามารถนำมาสร้างสิ่งดีงาม เพื่อเตือนสติไม่ให้ประมาท ใช้สอนธรรมและนำไปปฏิบัติจนบรรลุผลสำเร็จ และทำให้บรรลุมรรคผลต่อไป 2) พิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพในชุมชนอำเภอท่าศาลา มีประเพณีการปฏิบัติต่อศพ ทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ปัจจุบันประเพณีการจัดงานบำเพ็ญกุศลศพของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย 3) คติธรรมที่ได้จากประเพณีดังกล่าว คือ การมีสติ ไม่ประมาท เห็นสัจธรรมในขันธ์ 5 ประเพณีดังกล่าวได้คติธรรม คือ ความกตัญญูกตเวที ความเคารพนับถือ หลักไตรลักษณ์ ประเพณีการสวดศพ ได้คติธรรม คือ การอุทิศส่วนกุศล การมีน้ำใจต่อกัน ประเพณีการบวชหน้าศพและจูงศพได้คติธรรม คือ ความกตัญญู การสร้างอริยทรัพย์ คือ คุณความดีต่าง ๆ ประเพณีการเผาศพได้คติธรรม คือ สัจธรรมของชีวิต ได้แก่ กฎไตรลักษณ์ ความไม่ประมาทในชีวิต และประเพณีการเก็บอัฐิ การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย ให้คติธรรมด้านความกตัญญูกตเวที และการเกิดใหม่ ด้วยอาศัยอำนาจของบุญกุศลที่ทำอุทิศให้แก่ผู้ตายจะทำให้ผู้ตายได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีสืบไป

Article Details

How to Cite
ชินวโร (สนิยา) พ. ., เตชธมฺโม (แก้วมณี) พ., อนุวฑฺฒโน (ปานประดิษฐ์) พ. ., ชาตวณฺโณ (กิติโกฬะ) พ. ., & ปาณะศรี ส. . (2024). ศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพของชาวพุทธ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(9), 25–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/280443
บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2545). คติชนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พระครูกันตธรรมาภิวัฒน์ (คุ้มบัวลา). (2555). การศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมการฌาปนกิจของชาวบ้านขอนแก่นเหนือ ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโกศลอรรถกิจ และพระครูอภิชาตปัญญาภรณ์. (2560). ศึกษาประเพณีงานศพของชาวไทยพุทธท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(2), 65-66.

พระครูพิพิธธรรมจักร (ทองอินทร์ รุ่งเรือง). (2559). ศึกษาหลักปริศนาธรรมในพิธีบำเพ็ญกุศลศพของชาวตำบลน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. วารสารธรรมทรรศน์, 15(3), 67-68.

พระครูสุตภัทรธรรม (สำเรียง). (2563). พิธีกรรมงานศพของไทยตามคติพุทธรรม. วารสารสังคมศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 1(1), 50-51.

พระครูอรรถธรรมโสภิต (ตึด อคฺควํโส/เอี่ยมสะอาด). (2557). การศึกษาคติธรรมจากพิธีกรรมงานฌาปนกิจศพของชุมชนตาบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 1(1), 219-228.

พระฐตรฐ อธิปัญโญ (ศิลาศิลป์). (2555). การศึกษาหลักความเชื่อในพิธีศพของชาวพุทธตำบลคูคำที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระประพันธ์ กตคุโณ (สันทาลุนัย). (2557). วิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีการบำเพ็ญกุศลศพของชุมชนตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเชียร พูลมนัส. (2555). หลักธรรมและความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมในการทำศพของพุทธศาสนิกชนกรณีศึกษาวัดประยุรวงศาวางวรวิหาร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วิมล จิโรจพันธุ์ และคณะ. (2548). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

สุนทร สุทรัพย์ทวีผล. (2562). การศึกษาวิธีจัดงานศพที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 287-288.

สุเมธ เมธาวิทยกุล. (2532). สังกัปพิธีกรรม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.