การศึกษาแนวนิยมการตั้งชื่อร้านอาหารไทย: กรณีศึกษา ชื่อร้านอาหารไทย เมืองปักกิ่ง ในประเทศจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวนิยมในการตั้งชื่อร้านอาหารไทย เมืองปักกิ่ง ในประเทศจีน โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมด้านอาหารไทย ประชากรในการวิจัยนี้ คือ ร้านอาหารไทยในเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน จำนวนทั้งหมด 126 ร้าน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยคัดเลือกมา 50 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยคำนวณค่าร้อยละจากความถี่ในการแปลชื่อร้านอาหารไทยเป็นภาษาจีน รวมถึงร้านที่มีชื่อทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อทำความเข้าใจแนวทางในการแปลชื่อร้านอาหารไทยเป็นภาษาจีนและผลกระทบต่อการรับรู้ของลูกค้า ผลการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อร้านอาหารไทยในปักกิ่งมีแนวโน้มที่จะใช้ชื่อที่สื่อถึงลักษณะของอาหารและวัฒนธรรมไทย โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ 1) ชื่อร้านอาหาร จำนวน 40 ร้าน จาก 50 ร้าน คิดเป็น 80% ของร้านค้าทั้งหมดที่ใช้เสียง 3 พยางค์ในภาษาจีนเป็นที่นิยมที่สุด เนื่องจากเป็นแบบแผนการตั้งชื่อที่คุ้นเคยในวัฒนธรรมของสังคมจีน 2) แหล่งที่มาของชื่อร้านอาหาร 35 ร้าน จาก 50 ร้าน คิดเป็น 70% ของร้าน ซึ่งสะท้อนถึงความนิยมในการใช้ชื่อที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและภูมิประเทศของไทย 3) รูปแบบการใช้อักษรจีน “泰” (ไทย) จำนวน 45 ร้าน จาก 50 คิดเป็น 90% ของร้านทั้งหมด มีความสำคัญในการสื่อถึงความเป็นประเทศไทยและสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนให้กับลูกค้า และสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนให้กับลูกค้า อย่างไรก็ตามสำหรับการตั้งชื่อร้านมีความซับซ้อนมากเกินไป ควรมีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของชื่อ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าใจได้ครบถ้วน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2563). นโยบายการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.
นริศรา เกตวัลห์ และวิไล ธรรมวาจา. (2553). ภาษาไทยกับการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สมุทรสาคร: ต้นไม้น้ำ.
เนตรน้ำทิพย์ บุดดาวงศ์ และศรัณธร สุระหาร. (2564). การศึกษากลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน: กรณีศึกษาร้านอาหารไทยในนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วรสิทธิ์ สุธีระพจน์. (2556). การสร้างแบรนด์และการตลาดวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมฤทธี บัวระมวล. (2548). ชื่องาม นามดีตามวันเกิด. กรุงเทพมหานคร: คุ้มคำ.
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง. (2566). จับตามองร้านอาหารไทยในตลาดแดนมังกร. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://mp.weixin.qq.com/s/qzASfVxaEvZohw5HNQI6lg
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2527). ชื่อหมู่บ้านของอำเภอเมืองสุรินทร์. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก https://archive.li.mahidol.ac.th/handle/0280026809/2271
Dianping. (2022). Urban lifestyle in China Reflects the success of the unique Thai food culture that has been continually accepted Create economic value in line with driving the Thai kitchen policy towards a world kitchen. Retrieved March 20, 2024, from https://www.dianping.com/
Hofstede, G. (1980). Culture's Consequences: International Differences in Work-Related Values. Beverly Hills California: Sage Publications.
Thai select. (2024). Office of Agricultural and Industrial Trade Promotion Department of International Trade Promotion, Ministry of Commerce. Retrieved March 20, 2024, from https://www.thaiselect.com/th
Wang, J. & Chatrawangkhiri, L. (2565). A Comparative Study of Restaurant Naming in Muang Chiang Mai and Fuzhou China. Journal of Buddhist Anthropology, 7(1), 225-239.
Yifei, M. (2021). Appearance and Locality: Thanks to the Thai Restaurant Police in Kunming. In the long-term degree thesis in Business Administration and Tourism Management. Yunnan University.