การบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาของสถานศึกษา 2) ศึกษาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางการศึกษากับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการณ์พยากรณ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 302 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้สถานศึกษาเป็นหน่วยในการสุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. 0.59) 2) การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.64, S.D. = 0.47) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางการศึกษา ที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ เท่ากับ .755 และอำนาจพยากรณ์ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ร้อยละ 57.00 สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ = 2.005 + 0.572 (X5) และสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน y = 0.755 (X5)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
แก้วภัทรา จิตรอักษร และคณะ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารวิชาการสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 249-261.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ชยพล คำยะอุ่น และคณะ. (2562). ยุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 12(2), 248-260.
ช่อชะบา ชื่นบาน และคณะ. (2565). ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 6(1), 49-66.
ดนัย ศรีเกตุสุข และธีรภัทร กุโลภาส. (2560). แนวทางการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมีส่วนร่วม ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 424-437.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีรียาสาส์น.
ปกรณ์ ประจันบาน. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ปาริชาต แก้วสาร และคณะ. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรัมย์, 16(2), 109-121.
พัณภัสสา แก้วคำไสย์. (2567). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างการบริหารแบบมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts), 44(1), 95-110.
พิชิต สมศรี และคณะ. (2567). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีพศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาจุฬานาครทรทรรศน์, 11(1), 9-19.
รัตนา คำมุงคุณ และคณะ. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(36), 215-228.
ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม และดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 299-313.
ศินิชา ยิ้มปาน และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(1), 87-96.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561. เรียกใช้เมื่อ 21 พฤษภาคม 2567 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (2565). ข้อมูลพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565 จาก https://web.trat-edu.go.th/.
หนึ่งฤทัย มั่นคง และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในยุค Thailand 4.0. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.