แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ในการบริหารยุคความปรกติถัดไป พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดตราด

Main Article Content

กิติพันธ์ บัวเขียว
ธีรังกูร วรบำรุงกุล
เริงวิชญ์ นิลโคตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารวิถีใหม่ 2) ศึกษาระดับการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารวิถีใหม่ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารวิถีใหม่ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดตราด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน ซึ่งใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นของการสุ่ม หลังจากนั้นคัดเลือกคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของแต่ละสถานศึกษาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบมีเค้าโครง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน คัดเลือกแบบเจาะจง โดยมีเกณฑ์ คือเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่มีประสบการณ์ 5 ปี และยินดีให้ข้อมูล วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การวิเคราะห์ทุนศักยภาพ กำหนดนวัตกรรมตามต้องการความจำเป็น การพัฒนานวัตกรรม การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการศึกษา การทดลองใช้ตามบริบท การประเมินผล และการขยายผล ซึ่งผลการเปรียบเทียบการพัฒนาการมีส่วนร่วม จำแนกตามเขตอำเภอ โดยรวมและรายด้านอยู่ระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป การบริหารวิชาการ และการบริหารงบประมาณ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วม การสนับสนุนแบบองค์รวม นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาทักษะวิชาชีพ และ การสร้างความโปร่งใส

Article Details

How to Cite
บัวเขียว ก., วรบำรุงกุล ธ., & นิลโคตร เ. (2024). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ในการบริหารยุคความปรกติถัดไป พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดตราด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(8), 154–164. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/279968
บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พุทธศักราช 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. 16 พฤษภาคม 2550 เล่ม 124 ตอนที่ 24 ก: หน้า 29-36.

กมล อยู่สุข และคณะ. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปภัมถ์, 8(3), 152-166.

ไชยยุทธ์ อินบัว และสืบพงศ์ สุขสม. (2565). การนำนโยบายพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาไปปฏิบัติ ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปัตตานี. วารสาร มจร พุทธปริทรรศน์, 7(4), 30-41.

ดรัลรัตน์ ฮามพิทักษ์. (2562). แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและการจัดการศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(74), 118-130.

ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา คนที่ 1. (9 กุมภาพันธ์ 2567). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารวิถีใหม่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดตราด. (กิติพันธ์ บัวเขียว, ผู้สัมภาษณ์)

ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา คนที่ 2. (9 กุมภาพันธ์ 2567). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารวิถีใหม่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดตราด. (กิติพันธ์ บัวเขียว, ผู้สัมภาษณ์)

ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา คนที่ 3. (20 กุมภาพันธ์ 2567). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารวิถีใหม่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดตราด. (กิติพันธ์ บัวเขียว, ผู้สัมภาษณ์)

ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา คนที่ 4. (20 กุมภาพันธ์ 2567). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารวิถีใหม่พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดตราด. (กิติพันธ์ บัวเขียว, ผู้สัมภาษณ์)

บัณฑิตย์ ลิมปนชัยพรกุล และธนีนาฏ ณ สุนทร. (2559). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 9(1), 177-189.

พระครูกิตติญาณวิสิฐ (ธนา หอมหวน) และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา. วารสารศิลปการจัดการ, 6(2), 747-763.

พระราชบัญญัติ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. 30 เมษายน 2562 เล่ม 136. ตอนที่ 56 ก: หน้า 102-120.

วราภรณ์ พุทธวงษ์ และคณะ. (2560). แนวคิดการบริหารสถานศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(1), 16-23.

วสันต์ เหลือประภัสส์. (2566). ถอดสูตรกระจายอำนาจจัดการศึกษา พัฒนาโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้อำนาจตัดสินใจอยู่พื้นที่. เรียกใช้เมื่อ 28 เมษายน 2567 จาก https://www.eef.or.th/article-071223/

ศิรินาถ แสนบุ่งค้อ และคณะ. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารราชพฤกษ์, 14(2), 114-121.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตราด. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาการศึกษาจังหวัดตราด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566). ตราด: กลุ่มนโยบายและแผน.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Rand Mc Nally.