พวงหรีดงานศพ: บทสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ที่มาของการมอบพวงหรีดงานศพในสังคมไทย และ 2) บริบทความสัมพันธ์เชิงอำนาจของสังคมการเมือง ผ่านรูปแบบของกระบวนการสื่อสารและสัญญะที่ปรากฏอยู่บนพวงหรีดงานศพ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง คือ พระสงฆ์ จำนวน 2 รูป ร้านจำหน่ายพวงหรีด จำนวน 2 คน พิธีกรทางศาสนาประจำวัด จำนวน 1 คน เจ้าภาพผู้จัดงานศพ จำนวน 5 คน นักการเมืองและข้าราชการที่มอบพวงหรีด จำนวน 5 คน ผู้ที่มาร่วมงานศพ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่มาของการมอบพวงหรีด เป็นวัฒนธรรมตะวันตกที่ทำขึ้นเพื่อใช้ทั้งในงานมงคลและอวมงคล รับเข้ามาในสังคมไทยช่วงรัชกาลที่ 4 เพื่อใช้เฉพาะงานอวมงคลหรืองานศพเท่านั้นแทนที่การสักการะศพด้วยดอกไม้ธูปเทียน ช่วงแรกจะใช้ในงานศพของชนชั้นสูงและแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป ระยะแรกเป็นเพียงกิ่งไม้ที่นำมาสานขัดกันให้ดูสวยงามใช้แทนความอาลัยแด่ผู้ที่จากไป ปัจจุบันพวงหรีดถูกแปรสภาพให้เป็นการแสดงถึงอำนาจและสถานะ 2) บริบทความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เป็นเรื่องของธรรมเนียมสังคมที่สำคัญยังปรากฏอยู่ในเชิงสัญญะ ที่บ่งบอกถึงตัวตนของผู้มอบและคณะผู้มอบ ความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองระหว่างผู้ตายครอบครัวผู้ตายกับผู้มอบพวงหรีด และยังเป็นสัญญะทางการเมืองเชิงอำนาจ คือ โอกาสในการสื่อสารของนักการเมืองที่มีส่วนร่วมในงานศพ เพื่อใช้โอกาสนี้ในการแนะนำตัวเองและโฆษณาหาเสียงให้พรรคการเมืองของตนที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
แขกผู้ที่มาร่วมในงานศพ. (1 พฤษภาคม 2565). พวงหรีดงานศพ: บทสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทย. (พระทวี หอมเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2558). คู่มือ ประโยค ป.ธ.3 อรรถกถาธรรมบท ภาค 5 แปลโดยอรรถ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เจ้าภาพผู้จัดงานศพ. (19 เมษายน 2565). พวงหรีดงานศพ: บทสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทย. (พระทวี หอมเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)
เจ้าอาวาสวัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่ใน). (15 พฤษภาคม 2565). พวงหรีดงานศพ: บทสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทย. (พระทวี หอมเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)
ธงชัย สมบูรณ์. (2552). การเมืองในพวงหรีด. เรียกใช้เมื่อ 21 ธันวาคม 2564 จาก http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_files/politics.pdf
นงลักษณ์ เกตุบุตร และพรทิพย์ เย็นจะบก. (2554). การวิเคราะห์ภาพในการหาเสียงเลือกตั้ง ปีพ.ศ. 2554 ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กดอทคอม. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (หน้า 354-361). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญมี แก้วตา และคณะ. (2562). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรลักษณ์กับหลักความผาสุกทางจิตวิญญาณ. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(2), 447-461.
ปราณี วงษ์เทศ. (2534). พิธีกรรมเกี่ยวกับการตายในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พรินติ้ง.
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่ใน). (16 พฤษภาคม 2565). พวงหรีดงานศพ: บทสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไทย. (พระทวี หอมเกตุ, ผู้สัมภาษณ์)
รุจิราภา งามสระคู. (2560). การพัฒนาต้นแบบพวงหรีดเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
เสฐียร โกเศศ. (2551). ประเพณีเกี่ยวเนื่องในการตาย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ศยาม.
เสฐียร ทั่งทองมะดัน และสานิตย์ ศรีนาค. (2563). การตีความคำสอนเรื่องอิทัปปัจจยตาในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 39-54.
Davies, D. J. (2002). Death, Ritual and Belief: The Rhetoric of Funerary Rites. London: Bloomsbury Academic.
Gennep, A. V. (1960). The Rites of Passage. Chicago, United States of America: University of Chicago Press.
Miles, M. B. & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Thousand Oaks, London: Sage Publications, Inc.
Turner, V. (1967). The Forest of Symbols: Aspects of Ndembu Ritual. Ithaca, New York: Cornell University Press.