การแปลข้อมูลทางวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

ชนัฏา โสมณวัฒน์
ศญาดา เลอวลัญซ์
นริศรา เพชรฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลข้อมูลทางวัฒนธรรมในสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี) จำนวน 2 คน การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยนาท จำนวน 3 คน มัคคุเทศก์ท้องถิ่น จำนวน 2 คน และผู้ประกอบการในจังหวัดชัยนาท จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหารือการนำบทความประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจากสำนักการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยนาท ในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 3 บทความ เพื่อนำมาทำการแปลให้เป็นภาษาอังกฤษและวิเคราะห์บทความด้วยกลวิธีการแปลที่ปรับเปลี่ยน ผลการวิจัย พบว่า ผู้วิจัยใช้กลวิธีการแปลทั้งหมด 7 กลวิธี ได้แก่ 1) กลวิธีการหาคำเทียบเคียง 2) การใช้คำหรือสำนวนที่มีความหมายเหมือนกัน 3) การใช้คำหรือสำนวนภาษาอังกฤษที่มีความหมายใกล้เคียง 4) การอธิบายเพิ่มเติม 5) การแปลตรงตัว 6) การใช้ไวยากรณ์และโครงสร้างเพื่อปรับโครงสร้างจากภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล และ 7) การใช้ภาษา วิธีการพูด การเลือกใช้คำ ระดับลีลา และพบว่า การใช้กลวิธีการแปลสำนวนที่มีความหมายเหมือนกันโดยการใช้คำทางวัฒนธรรมภาษาฉบับแปลแทนที่คำในภาษาต้นฉบับในการแปลสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชัยนาทที่เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา ชุมชนและสังคมมากที่สุด ใช้กลวิธีการอธิบายเพิ่มเติมและกลวิธีการใช้ภาษา วิธีการพูด การเลือกใช้คำ ระดับลีลาในการแปลคำทางวัฒนธรรมเท่ากัน และใช้ไวยากรณ์และโครงสร้างเพื่อปรับโครงสร้างจากภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปลน้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรายุทธ์ สนดา. (2557). ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวและการรับรู้การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหาการศึกษา. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณิชกุล เสนาวงษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแชดในยุค New Normal. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยสยาม.

ทัศติวัลย์ ประภาเคน และปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จังหวัดกาญจนบุรี. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2567 จาก http://rms.mcru.ac.th/uploads/590057.pdf

ปิติภัทร บิลเต๊ะ, และคณะ. (2564). กลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรม จากคู่มือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารวจนะ, 9(2), 44-65.

พร้อมพรรณ กลิ่นหอม. (2561). กลวิธีการแปลคำขวัญโฆษณา. เรียกใช้เมื่อ 17 มกราคม 2567 จาก https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/7534/1/Fulltext.pdf

พิมพ์พันธุ์ เวสสะโกศล. (2555). การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราพัชร ชาลีกุล และสานุช เสกขุนทด ณ ถลาง. (2562). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาเรื่อง เรื่องของจัน ดารา แต่งโดย อุษณา เพลิงธรรม. วารสารวจนะ, 7(1), 1-20.

สตรีรัตน์ ไกรอ่อน. (2556). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2567 จาก http://sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/id/3a918c16-8e0b-4506-8300-89994c3b92cf/fulltext.pdf?attempt=2

สำนักการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดชัยนาท. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564-2565). เรียกใช้เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://chainat.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1160

สิณากรณ์ ศรีพุทธิรัตน์ และนธกฤต วันต๊ะเมล์. (2564). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมผ่านสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องการโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2567 จาก https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nationalsoc2021/1861_20210511145055.pdf

สิริญญา สุขสวัสดิ์. (2558). ลักษณะภาษาและกลวิธีการใช้ภาษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ในหน้าแฟนเพจ “ข้อความโดน ๆ” ในเฟซบุ๊ก. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2549). ภาษาและวัฒนธรรมอ่านสนุก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2562). ภาษา วัฒนธรรมกับการแปล: ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

Baker, M. (2018). In other words: A coursebook on translation. (3rd ed.). London: Routledge.

Dweik, B. S., & Suleiman, M. (2013). Problem encountered in translating cultural expressions from Arabic into English. International Journal of English Linguistics, 3(3), 47-60.

Napu, N. (2016). Translating tourism promotional texts: Translation quality and its relationship to the commissioning process. The Journal of Intercultural Mediation and Communication, 9(2), 47-62.

Sulaiman, M. Z., & Wilson, R. (2019). Translation and tourism: Strategies for effective cross-cultural promotion. Singapore: Springer Nature Singapore Pte., Ltd.

Taylor, R. (2013). Intercultural communication: A survival guide for non-native English speakers. Bangkok: Thammasat University Press.

Wongseree, T. (2021). Translation of Thai culture-specific words into English in digital environment: Translators’ strategies and use of technology. rEFLections, 28(3), 334-356.