ปัจจัยความสำเร็จในการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ศรัณย์ เพ็ชรตุ่น
ทนงศักดิ์ เหมือนเตย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ในจังหวัดนครสวรรค์ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช. ในจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยเจ้าหน้าที่โครงการส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช. จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,600 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน ด้วยสูตรของทาโร่ยาเมเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามกลุ่มผู้ดำเนินโครงการ แล้วสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนที่กำหนด ใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วเก็บข้อมูลช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช. จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.93, S.D. = 0.49) โดยประสบความสำเร็จด้านจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการต่อเป้าหมายในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.24, S.D. = 0.53) และวินัยการออมต่อเนื่องของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการประสบความสำเร็จในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.62, S.D. = 0.49) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยที่นำมาทดสอบส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับ กอช. จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ปัจจัยความร่วมมือหรือการตอบสนองของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (R2 = 0.613) ปัจจัยลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ (R2 = 0.581) ปัจจัยเงื่อนไขทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง (R2 = 0.578) ปัจจัยทรัพยากรของนโยบาย (R2 = 0.574) ปัจจัยการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน (R2 = 0.562) และปัจจัยมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย (R2 = 0.491)

Article Details

How to Cite
เพ็ชรตุ่น ศ., & เหมือนเตย ท. (2024). ปัจจัยความสำเร็จในการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(8), 165–175. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/279121
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2566 จาก https://www.dop.go.th/th/know/1

กองทุนการออมแห่งชาติ. (2565). รายงานประจำปี 2565. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2566 จาก https://golink.icu/5vgGpBg

กองทุนการออมแห่งชาติ. (2566). Dashboard เว็บไซต์การแสดงยอดการสมัครสมาชิกของ กอช. เรียกใช้เมื่อ 25 สิงหาคม 2566 จาก https://nsf-dopa.nsf.or.th/list_all.php

จุฑารัตน์ ยกถาวร. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมวินัยการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติในระดับพื้นที่ กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฏิญญา ศุภรัตน์. (2562). การนำนโยบายกองทุนการออมแห่งชาติไปปฏิบัติ กรณีศึกษาที่ทำการปกครองอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพ็ญแข แสงแก้ว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Alkhawaja, S. O. & Albaity, M. (2022). Retirement saving behavior: evidence from UAE. Journal of Islamic Marketing, 13(2), 265-286.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th. ed.). New York: Pearson.

Meter, D. S. & Horn, C. E. V. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework. Administration & society. Sage Journals, 6(4), 445-488.

Punj, D. (2018). Key Success Factors of Saving Behavior and Retirement Planning: A Cross-Sectional Study. Journal of IT in Industry, 6(3), 88-93.

Tamborini, C. R. & Kim, C. (2019). Are You Saving for Retirement? Racial/Ethnic Differentials in Contributory Retirement Savings Plans. The Journals of Gerontology: Series B, 75(4), 837-848.

United Nations. (2019). Statistical Papers-United Nations (Ser. A), Population and Vital Statistics Report. Retrieved August 22, 2023, from https://www.unilibrary.org/content/series/2412138x