คุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย

Main Article Content

วนิดา เหมือนจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย ซึ่งในภาพรวมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เป็นอย่างดี มีการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพและการแพทย์ที่ทันสมัยทำให้มีอายุยืนยาว ด้านจิตใจ ผู้สูงวัย จะมีความเปราะบางทางด้านจิตใจ จึงต้องปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติในการที่จะก้าวเป็นผู้สูงวัยตั้งแต่เนิ่น ๆ ต้องนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับชีวิต ใช้สติและปัญญาในการแก้ไขปัญหา สุขภาพจิตจึงมีความเข้มแข็ง ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้สูงอายุต้องรู้จักตนเองในการมีกิจกรรมร่วมกันและต้องมีความเหมาะสมกับตนเองด้วย เช่น การร่วมโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ การรำไทเก็ก ชมรมผู้สูงอายุ การเรียนรู้กลุ่มอาชีพที่สนใจและสามารถเพิ่มรายได้โดยมีการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ และในด้านสิ่งแวดล้อม ในทางกายภาพที่ดีของผู้สูงวัย เช่น ที่พักอาศัยปราศจากมลพิษอากาศถ่ายเทสะดวก มีสถานบริการทางสุขภาพใกล้บ้าน มีการจัดกิจกรรมสันทนาการและมีการฝึกฝนอาชีพที่น่าสนใจและสร้างรายได้ ส่วนด้านหลักพุทธธรรมกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต จะมีความสอดคล้องกับองค์ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อนำหลักไตรลักษณ์ หลักภาวนา 4 และหลักมรรคมีองค์ 8 มาบูรณาการจะได้ความเชื่อมโยงที่เป็นเหตุเป็นผล มีศักยภาพในการจัดการปัญหา เมื่อดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้องผู้สูงวัยจะก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยความสงบสุขไม่ทุกข์ร้อน ไม่เป็นภาระให้กับทั้งตนเอง ลูกหลานและสังคมเพราะตั้งมั่นในศีลธรรมอย่างมั่นคง

Article Details

How to Cite
เหมือนจันทร์ ว. (2024). คุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(7), 140–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/278670
บท
บทความวิชาการ

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือแนวทางการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว. กรุงเทพมหานคร: สํานักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ. (2562). กรมกิจการผู้สูงอายุแนวทางการดำเนินงานธนาคารเวลาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

จิรายุ สุวรรณะ และคณะ. (2566). สังคมสูงวัยกับวิถีพุทธ: การเดินทางแห่งปัญญาและความเมตตา. วารสารการพัฒนาเชิงพื้นที่และนโยบาย, 1(3), 67-76.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารวิชาการ สํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 3(16), 1-19.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์และคณะ. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี. วารสารมจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(4), 264-274.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2550). รุ่งอรุณการศึกษาเบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ และภานุวัฒน์ สิงห์คำป้อง. (2567). พัฒนากระบวนการจัดการสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์, 4(1), 82-97.

พระวีระพงษ์ วิชฺชาธโร และคณะ. (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลผักตบ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 8(1), 63-73.

พระสมุห์สุรินทร์ รัตนโชโต และพระศักดิ์จรินทร์ ฐิตสํวโร. (2566). บทบาทของวัดและการพัฒนาวัดคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมไทยตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารของนวัตกรรมและการจัดการเชิงพุทธ, 6(5), 171-184.

พระสันต์ทัศน์ คมฺภีรปญฺโญ (สินสมบัติ). (2566). แนวทางประยุกต์การปฏิบัติตนในสถานการณ์วิกฤตโควิดตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 29-40.

ยากร หวังมหาพร. (2567). โครงการระหว่างวัยด้านการศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(1), 1-12.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์พลับลิเคชั่นส์ จำกัด.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อมราวรรณ ทิวถนอม. (2557). ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 51(2), 6-16.

Caregiver. (2567). ธนาคารเวลาแห่งสวิตเซอร์แลนด์. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://shorturl.asia/gucf4