การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียแบบไร้รอยต่อ

Main Article Content

เบ็ญจา พุฒซ้อน
นฤมล จันทร์สุข
ฉัตรฤดี พุ่มลัดดา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย 2) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียแบบไร้รอยต่อ และ 3) ศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียแบบไร้รอยต่อ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เลือกแบบเจาะจงเป็นผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียและผู้ดูแล จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียแบบไร้รอยต่อ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบบันทึกภาวะสุขภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pair t-test ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแล ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียแบบไร้รอยต่อ ประกอบด้วย 1) คลินิกธาลัสซีเมียแบบเบ็ดเสร็จและมีพยาบาลประจำ 2) จัดทำสมุดประจำตัวผู้ป่วย 3) จัดทำคู่มือโรคธาลัสซีเมีย 4) จัดอบรมให้ความรู้ 5) พัฒนาเครื่องมือการวางแผนจำหน่าย 6) ตั้งไลน์กลุ่มและส่งต่อติดตามทางโทรศัพท์ 7) มีการเยี่ยมบ้าน และ 8) มีการนิเทศการใช้รูปแบบ ผลลัพธ์ภายหลังการดำเนินการตามรูปแบบ พบว่า 1) ผู้ป่วยเด็ก ธาลัสซีเมีย กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผู้ดูแล กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และความพึงพอใจสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ภาวะสุขภาพ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของระดับฮีมาโตคริตและระดับซีรั่มเฟอริตินต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2567). สัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 25. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2567 จาก https://www.hfocus.org/content/2024/03/30093

จันทร์เพ็ญ ประโยงค์ และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(5), 803-812.

ประกริต รัชวัตร์ และนัยนา ภูลม. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(1), 334-349.

พนารัตน์ มัชปะโม. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง หรือชนิดพึ่งพาเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(8), 234-243.

พุทธวร พิลาฤทธิ์ และศุภรดา ภาแสนทรัพย์. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียโรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน, 1(3), 138-150.

เพ็ญศิริ พันธุวงศ์. (2566). คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่เข้ารับเลือดเป็นประจำในโรงพยาบาลทุ่งสงและโรงพยาบาลเครือข่าย. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 6(2), 90-101.

มณี อาภานันทิกุล. (2563). การวิจัยปรากฏการณ์วิทยา: การประยุกต์ใช้ในการวิจัยทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. (2565). สถิติผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย. ชัยนาท: โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.

โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. (2566). รายงานประจำปี. ชัยนาท: โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.

ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์และคณะ. (2563). รูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 27-39.

อภิชญา อารีเอื้อและคณะ. (2560). รูปแบบการปรับปรุงคุณภาพการดูแลในสถานบริการสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง: กรณีคลินิกเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(4), 42-50.

Kemmis, K. & Mc Taggart, R. (2000). Participatory action research: Handbook of quality Research. London: Sage.

Varni, J. W. (2019). The PedsQL Measure-ment Model for the Pediatric Quality of Life Inventory. Retrieved March 20, 2024, from http://www.pedsql.org/index.html