อัตราการเกิดภาวะหนาวสั่น และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่น ของผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึก โรงพยาบาลเกาะสมุย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะหนาวสั่น และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นของผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึก เมื่ออยู่ในห้องพักฟื้น โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับบริการทางวิสัญญีและได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว หรือแบบเฉพาะส่วนหรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน และได้รับการเฝ้าระวังอาการในห้องพักฟื้น จำนวน 350 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกภาวะหนาวสั่น และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหนาวสั่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-square test/Fisher’s exact test ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึก เมื่อย้ายไปอยู่ในห้องพักฟื้นเกิดอาการหนาวสั่น ร้อยละ 32.6 โดยปัจจัยภายในตัวผู้ป่วย ได้แก่ อุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยก่อนเข้าห้องผ่าตัด และปัจจัยจากการผ่าตัด ได้แก่ ชนิดของการผ่าตัด ระยะเวลาในการผ่าตัด ปริมาณสารน้ำที่ได้รับทางหลอดเลือดดำ และการสูญเสียเลือด มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นของผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) ส่วนปัจจัยภายในตัวผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย และโรคประจำตัว และปัจจัยจากการผ่าตัด ได้แก่ ช่วงเวลาที่รับการผ่าตัด และแผนกผ่าตัด ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นของผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกเมื่อย้ายไปอยู่ในห้องพักฟื้น จากผลการศึกษา พยาบาลห้องพักฟื้น/ห้องผ่าตัดควรเฝ้าระวังและให้การดูแลภาวะหนาวสั่นตามมาตรฐาน และโดยเฉพาะปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหนาวสั่นที่พบจากการศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญชญาณ์ จริงจิตร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่น (Shivering) ในผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในห้องพักฟื้น ของโรงพยาบาลตรัง. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 18(1), 13-24.
เกษร พั่วเหล็ก. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นและอุณหภูมิต่ำเพื่อการพัฒนาโปรแกรมอบอุ่นร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง โรงพยาบาลหนองบัวลำพู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 25(3), 294-305.
จินตนา ดีป้อม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, 2(3), 3-11.
ชวิภา พิสิฏฐศักดิ์, และคณะ. (2559). อุบัติการณ์และปัจจัยในการเกิดอุณหภูมิกายต่ำภายหลังจากการผ่าตัด. วิสัญญีสาร, 37(2), 93-103.
ญาณนันท์ รัตนธีรวิเชียร. (2560). อุบัติการณ์และปัจจัยทำนายการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. Journal of Nursing Science, 31(4), 34-44.
ปรก เหล่าสุวรรณ์. (2563). ภาวะวิกฤตทางวิสัญญีวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรเมศวร์ จิตถนอม และนรลักษณ์ เอื้อกิจ. (2561). ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, 1(13), 784-797.
ประไพ ผลอิน, และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ของผู้ป่วยหลังผ่าตัด. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 3(1), 32-47.
ปิยมาน งามเจริญรุจี. (2564). การใช้ผ้าห่มฉุกเฉินเพื่อช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะหนาวสั่นหลังการผ่าตัด. วารสารแพทย์ เขต 4-5, 40(1), 125-135.
รัตติพร ครุฑป่า, และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น. เรียกใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2567 จาก https://nrh.nopparat.go.th/research/public/view/pdf/66_2.pdf
โรงพยาบาลเกาะสมุย. (2566). จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลเกาะสมุย. สุราษฎร์ธานี: โรงพยาบาลเกาะสมุย.
วนิดา ศรีสถาน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นที่ห้องพักฟื้นในผู้ป่วยที่ฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง. เรียกใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2567 จาก https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2563/research/MA2563-001-01-0000000283-0000000214.pdf
ศิริวรรณ จิรสิริธรรม. (2560). ตำราวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิสัญญีวิทยารามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ไอเดีย อินสเตนท์ พรินทิ้งการพิมพ์.
สมหมาย ทองมี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นหลังได้รับยาระงับความรู้สึก ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(4), 1237-48.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2566). การระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัด. เรียกใช้เมื่อ 1 ธันวาคม 2566 จาก https://www.thaihealth.or.th/
สุกัญญา องอาจ. (2561). อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวหรือแบบเฉพาะส่วน ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 3(2), 116-126.
สุทิวา สุริยนต์. (2561). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่และการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย โรงพยาบาลแพร่. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Deepom, J. et al. (2019). Associated factors of Hypothermia during General Anesthesia. Nursing Health and Education Journal, 2(3), 1-11.
Lopez, M. B. (2018). Postanaesthetic shivering from pathophysiology to prevention. Rom J Anaesth Intensive Care, 25(1), 73-81.
Paavolainen, L. & Wallstedt, J. (2018). Post-operative complications of general anesthesia: A recorded video presentation. in Bachelors thesis. Jyväskylä University.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill,Inc.