ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

ปิยมาส ปัญญา
นิษฐ์วดี จิรโรจน์ ภิญโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ และขนาดสถานศึกษาการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ ครูและผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 4,808 คน กลุ่มตัวอย่างได้เท่ากับ 369 ตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น แบ่งตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ในภาพรวมของสภาพภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.36, S.D. = .588) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการสื่อสารเชิงนวัตกรรม และ 2) ความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.80, S.D. = .298) ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ในภาพรวมจำแนกตามอายุ แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ยกเว้น ด้านการสื่อสารเชิงนวัตกรรม ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดสถานศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ยกเว้น ด้านการสื่อสารเชิงนวัตกรรม ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วินิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญชนก โตนาค และคณะ. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิง นวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 131-137.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. (2565). การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตและพัฒนาครูสู่โลกอนาคต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(6), 2579-2691.

ซัมซียะห์ เมาลิดิน. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. ใน สารนิพนธ์บริหารการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ญาณี ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

ฐิตินันท์ นันทะศรี และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17 (79), 11- 20.

ณิชาภา สุนทรไชย. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงแข ขำนอก. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

ธนพร จรจรัญ และกัลยมน อินทุสุต. (2566). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 10(2), 24-38.

นันทิยา ยิ้มรักษา. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. นครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์.

นิติกร ระดม และชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์. (2566). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสหวิทยาเขตรัชวิภา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. นครศรีธรรมราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุณรดา ทรงบุญศาสตร์ และสุทธิพงษ์ หกสุวรรณ. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). (2545). ราชกิจจานุเบจ เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก หน้า 16-21. 19 ธันวาคม 2545.

พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก หน้า 102-120. 30 เมษายน 2562.

ยินดี ฮานาฟี. (2562). แนวทางการส่งเสริมการมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศิริพร พงษ์เนตร. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 117-128.

สุริยา สรวงศิริ, และสิทธิชัย สอนสุภี. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา. (2557). อะไร คือ สิ่งจำเป็นของผู้นำเชิงนวัตกรรม. บริษัท สลิงชอทกรุ๊ป จํากัด. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.slingshot.co.th/th/blog/innovative-leadership

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2554). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Horth, D., & Buchner, D. (2014). Innovation Leadership How to use innovation to lead effectively, work collaboratively, and drive results. North Carolina: Center for Creative Leadership.

Keith, D. K. (2012). The Culture of Teaching and the Teaching of Culture. Psychology Learning and Teaching, 11(3), 316-325.