ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติหญิงไทใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

หญิงจ๋าม คำปัน
สายหยุด มูลเพ็ชร
สามารถ ใจเตี้ย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติหญิงไทใหญ่ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง เปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของความเชื่อด้านสุขภาพ และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบในกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 45 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 45 คน ของกลุ่มแรงงานข้ามชาติหญิงไทใหญ่ โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สถิติที่ใช้วิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนกับหลังการทดลองใช้ Paired t-test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มใช้ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม 2.78 มากกว่า กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม 1.52 ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.53 และมีค่าเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 0.54 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการเปรียบเทียบในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมหลังได้รับโปรแกรม 3.32 มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม 2.78 ซึ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 0.57 และมีค่าเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 2.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 มีประสิทธิภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด-19 ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ มีพรหม และปวีณา หมู่อุบล. (2563). เสียงสะท้อนของหญิงแรงงานข้ามชาติในไทยจากสถานการณ์โควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.tcijthai.com/news/2020/7/article/10693

กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2563. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/1664788620103-248403179.pdf

กัมปนาท โคตรพันธ์ และนิยม จันทร์นวล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบวิจัยครั้งที่ 16 วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2565 (หน้า 148-160). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

จิตรา มูลทิ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรสาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีธรรมราช, 27(2), 5-14.

ทรงชัย ทองปาน. (2563). องค์ความรู้ว่าด้วยแรงงานข้ามชาติกับสุขภาพ: ผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. วารสารสุขศึกษา, 43(2), 1-16.

นฤมล วงศ์วัยรักษ์ และรชานนท์ ง่วนใจรัก. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของอาสาสมัครสาธารณสุขศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560. วารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 25(3), 24-33.

นิชาภา เหมือนภาค และคณะ. (2565). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ผลกระทบสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(2), 85-94.

พนัชญา ขันติจิตร, และคณะ. (2564). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชน ในจังหวัดอุบลราชธาน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 5(2), 39-53.

อภิวดี อินทเจริญ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.

Becker, M. H. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-385.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper&Collins.

Mirzaei, A. et al. (2021). Application of health belief model to predict COVID-19-preventive behaviors among a sample of Iranian adult population. Journal of Education and Health Promotion, 10(1), 1-7.

Rosenstock, IM. et al. (1988). Social learning theory and the Health Belief Model. Health Educ Q, 15(2), 175-183.

Seangpraw, K. et. al. (2022). Using the Health Belief Model to Predict Vaccination Intention Among COVID-19 Unvaccinated People in Thai Communities. Front Med (Lausanne), 2022(9), 1-9.

Syed, M. H. et al. (2021). Application of the health Belief Model to assess community preventive practices against COVID-19 in Saudi Arabia. Saudi Pharmaceutical Journal, 29(11), 1329-1335.

United Nations. (2020). Policy Briefs: The Impact of COVID-19 on Children. Retrieved July 7, 2023, from https://www.un-ilibrary.org/content/papers/27082245/3

United Nations Thematic Working Group on Migration in Thailand. (2019). Thailand Migration Report 2019. Bangkok: Ainergy Studio Company Limited.

Zewdie, A. et al. (2022). The health belief model’s ability to predict COVID-19 preventive behavior: A systematic review. SAGE Open Medicine, 10, 1-10.