แนวทางการส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มโรงเรียนช่องแคบ-คีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

Main Article Content

ชิตณรงค์ วงษ์ปางมูล
สมชาย อังสุโชติเมธี
สุภาภรณ์ กิตติรัชฎานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และหาแนวทางการส่งเสริมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มโรงเรียนช่องแคบ-คีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ประชากร จำนวน 372 คน ใช้วิธีการสุ่มเลือกแบบชั้นภูมิ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 คน เก็บข้อมูลด้วยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยเลือกแบบเจาะจง และเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้บริหารการศึกษา และกลุ่มผู้ปฏิบัติ มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม พบว่า สภาพการดำเนินการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.74, S.D. = 0.15) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม ด้านภาวะผู้นำร่วม ตามลำดับ ปัญหาที่พบ พบว่า ปัญหาด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ มีปัญหาสูงสุด (ร้อยละ 26.60) ปัญหาด้านวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม ปัญหาด้านภาวะผู้นำร่วม ตามลำดับ ส่วนแนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ด้านวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม ควรจัดการประชุมครูเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ควรกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ด้านภาวะผู้นำร่วม ควรเปิดโอกาสให้ครูได้เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้กับครูด้านชุมชนกัลยาณมิตร ควรใช้การทำงานร่วมกันเป็นทีม และด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ควรกำหนดการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นนโยบายที่ครูนำไปดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วทัญญู การกล้า. (2566). แนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนช่องแคบ-คีรีราษฎร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 8(3), 63-76.

กุลกัลยา ภูสิงห์. (2560). Manabusato: การปฏิรูปโรงเรียนแนวความคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำ ทฤษฎีมาปฏิบัติจริง. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2562). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในโรงเรียน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นนทิยา สายแสงจันทร์. (2561). การส่งเสริมความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

นันท์นภัส ชัยสงคราม. (2561). การเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาวิทยาลัยครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิมพ์อร สดเอี่ยม และคณะ. (2561). ข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.

ลภัสรดา เวียงคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษาภาควิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม.

ศิวกร รัตติโชติ. (2561). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.