ปัจจัยการธำรงรักษาครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศศิธร เมธรุจภานนท์
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการธำรงรักษาครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ผลการยืนยันปัจจัยการธำรงรักษาครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 437 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 205 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลครั้งนี้เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 คน และครูชาวต่างประเทศสอนภาษาอังกฤษในโครงการภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิต จำนวน 1 คน โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันปัจจัยการธำรงรักษาครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ การวิเคราะห์เนื้อหา ได้รับแบบสอบถามความคิดเห็นฉบับสมบูรณ์กลับคืนมา 352 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.85 ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยการธำรงรักษาครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ 1) แนวทาง การเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานเพื่อเพิ่มความผูกพันในองค์การ แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยย่อย คือ 1.1) ภาวะผู้นำในการบริหารผลการปฏิบัติงาน 1.2) การมอบรางวัลในรูปแบบต่าง ๆ 1.3) การสร้างความสัมพันธ์อันดี บรรยากาศอบอุ่นและปลอดภัย 1.4) ระบบการสนับสนุนของ HR 2) การสร้างแรงบันดาลใจและแรงศรัทธา 3) การจัดการสอนภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานเดียวกัน 4) การจัดหาสิทธิประโยชน์และสวัสดิการด้านอาชีพ รายได้ และสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amiri, M. et al. (2016). Burnout and its influencing factors among primary health care providers in the North East of Iran. Plos ONE, 8(2016), 1-11.

Bangkok Education Office. (2018). Bangkok Basic Education Development Plan No. 3. Retrieved May 12, 2024, from https://www.oic.go.th/.[InThai]

Cho, V. & Xu, H. (2012). Professional Commitment, Organizational Commitment, and the Intention to Leave for Professional Advancement: An Empirical Study on It Professionals. Information Technology & People, 25(1), 31-54.

De Braine, R. T. (2012). Predictors of work-based identity. University of Johannesburg: South Africa.

Dessler, G. (2022). Fundamentals of Human Resource Management. Employee Retention. Workforce Planning for Wisconsin State Government. เรียกใช้เมื่อ 16 May 2022 จาก http://workforceplanning.wi.gov/category.asp?linkcatid=15&linkid=18.,27

Fupluem, S. (2015). Maintaining professional marketers of a beverage company. Pathum Thani: Thammasat University.

Gerhard (Gert) Roodt. (2018). A Job Demands-Resources Frameworks for Explaining Turnover Intentions, in Psychology of Retention: Theory, Research and Practiced. Melinde Coetzee, Ingrid L Potgieter, Nadia Ferreira . Switzerland: Springer.

Judge, A. et al. (2022). Staffing Organizations.10th ed. New York: Mc Graw Hill, 638-641.

Noe, H. et al. (2019). Human Resource Management. (11th ed). New York: McGraw Hill Education.

Pakirasung, B. & Charoenkrung, N. (2021). Recruitment, Selection and Retention Guidelines For Foreign Teachers of International Schools in Bangkok. OJED Educational Electronic Journal, 16(2), 1-11.

Pongsamran, S. (2015). Management and maintenance of personnel. employees Southern Technology Journal, 8(2), 135-143.

Puttasarn, N. (2021). Guidelines for personnel management in maintaining personnel of private charitable schools in the category of welfare education in Mueang District, Chiang Rai Province. ใน Master of Education Program, Major: Educational Administration . Rajabhat University.

Sawadsaringkan, P. (2022). Employees' feelings of obligation with modern performance concepts. Retrieved April 6, 2022, from http://oknation.nationtv.tv/blog/piyanan/2017/01/27/entry-1

Tanwimonrat, S. (2020). Educational human resource management. (1st printing). Nakhon Pathom: University Press.

Thaipublica. (2022). Educational budget 800 thousand million baht (Section 1): high expenses Fail-Spent money with the irrelevant target. Retrieved February 5, 2022, from https://thaipublica.org/2021/02/national-education-account01

UNESCO Institute for Statistics. (2016). THE WORLD NEEDS ALMOST 69 MILLION NEW TEACHERS TO REACH THE 2030 EDUCATION GOALS. Retrieved June 5, 2022, from https://docs.edtechhub.org/lib/TC8PNFAI

Urbinner. (2022). Maslow's Hierarchy of Needs. Retrieved July 12, 2022, from https://www.urbinner.com/post/maslow-hierarchy-of-needs