ปัญหาสิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ. 2560

Main Article Content

เด่นคุณ ธรรมนิตย์ชยุต
วระเดช ภาวัตเวคิน
กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว
ชำนาญ ชาดิษฐ์
อัษฎาวุธ วสนาท

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัญหาสิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (พุทธศักราช 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสิทธิทางการเมืองของพระสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสิทธิการเลือกตั้งของพระสงฆ์ในต่างประเทศ 3) เพื่อวิเคราะห์สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และผู้วิจัยใช้แนวคิดทฤษฎีเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงและสภาพสังคมวิทยาของไทยเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1) สิทธิทางการเมืองของพระสงฆ์ จะต้องเป็นกลางทางการเมืองทำหน้าที่โดยแนะนำหลักธรรมให้นักการเมืองนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ 2) สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ในประเทศศรีลังกาและประเทศกัมพูชากำหนดให้พระสงฆ์มีสิทธิเลือกตั้งได้ ซึ่งสอดคล้องกับบริบทความเป็นมาทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของทั้งสองประเทศ แต่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ยกเว้นสิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองที่พระสงฆ์เป็นผู้นำทางสังคมและการเมืองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 3) สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560)  เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน พระสงฆ์ควรที่จะได้รับการยกเว้นมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่พระสงฆ์ควรมีเสรีภาในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างสุจริตธรรม และการแสดงความคิดเห็นนั้นจะต้องไม่สร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่ความแตกแยกของคนในสังคม หรือในอนาคตหากสังคมไทยมีเจตจำนงค์ร่วมกันที่จะให้พระสงฆ์มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยก็อาจทำได้  และผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาในทางวิชาการต่อไป คือ ศึกษาข้อดี ข้อเสีย ความเห็นของประชาชน ถ้าในอนาคตจะให้พระภิกษุมีสิทธิเลือกตั้งได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2547). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2563). แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) กับการจัดโครงสร้างสถาบันการเมือง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลาคม.

ประวีณ พันธุ์พิพัฒน์. (2559). ปัญหาสิทธิในการเลือกตั้งของพระสงฆ์. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตโต). (2531). กรณีสันติอโศก. กรุงเทพมหานคร: เปรียญธรรม.

พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตโต). (2535). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวินัย (ผลเจริญ). (2543). บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 7(3), 5-25.

พระมหาหรรษา (ธมฺมหาโส). (2557). แนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า. ใน รายงานวิจัย โครงการวิจัยพุทธศาสน์ศึกษาของศูนย์พุทธศาสนาศึกษา. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2535). พุทธศาสนากับประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2538). จุดเปลี่ยนแห่งชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

โภคิน พลกุล. (2529). ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

วชิรา นาวาศรีพร. (2560). ปัญหาการจำกัดสิทธิการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้เป็น ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.