การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศีลธรรมแบบคละชั้น สำหรับพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศีลธรรมแบบคละชั้น สำหรับพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1-3 โดยผ่านการประเมินความเหมาะสมของโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และ 2) ผลการทดลองใช้ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศีลธรรมแบบคละชั้น สำหรับพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1-3 โดยประเมินจากกลุ่มตัวอย่างเป็นพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจงจากพระสอนศีลธรรมที่สมัครเข้าร่วมทดลองใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 50 รูป เครื่องมือที่ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศีลธรรมแบบคละชั้น แบบประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสม แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศีลธรรมแบบคละชั้น ประกอบด้วย 1) ด้านคำชี้แจง 2) ด้านคู่มือครู 3) ด้านคู่มือนักเรียน 4) ด้านแผนการจัดการเรียนรู้ 5) ด้านสื่อการเรียนรู้ และ 6) ด้านการวัดผลและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมของชุดการจัดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด (𝑥̅ = 4.52, S.D. = 0.52) และมีความเป็นไปได้มากที่สุด (𝑥̅ = 4.75, S.D. = 0.36) และ 2) ผลการประเมินผลความพึงพอใจในการใช้ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศีลธรรมแบบคละชั้น พบว่า พระสอนศีลธรรมที่สมัครเข้าร่วมทดลองใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 50 รูป มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.55, S.D. = 0.53) โดยด้านพระวิทยากระบวนการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาด้านกิจกรรมการฝึกอบรม ด้านเนื้อหาการฝึกอบรม และด้านสื่อประกอบการฝึกอบรมตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติภูมิ มะแสงสม. (2562). สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(2), 94-101.
แก้วอุดอน มะหาทอง และศศิวิมล พรประไพ. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบคละชั้นในระดับประถมศึกษา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 14(1), 7-12.
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ และคณะ. (2565). อนาคตภาพพระสอนศีลธรรมเพื่อยกระดับ การสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสังคมชีวิตวิถีใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 3036-3049.
ณิชาภัทร สุขเกษม และสมปัต ตัญตรัยรัตน์. (2555). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้สำหรับนักเรียนคละชั้น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 6(1), 39-45.
ดวงใจ แสงฉาย. (2564). บทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. วารสารวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสังคมศาสตร์ปริทัศน์, 1(1), 49-57.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร) และคณะ. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของพระสอนศีลธรรม ตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารการวิจัย, 16(2), 103-116.
พระศรีธรรมภาณี. (2565). การพลิกโฉมพระสอนศีลธรรม: การพัฒนาพระบริหารการนิเทศ พระนิเทศก์ และพระสอนศีลธรรมเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนศีลธรรมในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 938-953.
มณฑิชา พาโทน และหยกแก้ว กมลวรเดช. (2565). การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้นในระดับปฐมวัย เครือข่ายกลุ่มโรงเรียนไร่อ้อย-ดารา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(5), 79-92.
ศุนิสาส ทดลา. (2566). โรงเรียนขนาดเล็ก: ปัญหาหรือโอกาสของการจัดการศึกษา. ครุศาสตร์สาร, 17(2), 43-55.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
อภิรัตน์ สุพิมพ์ และธัญญธร ศรีวิเชียร. (2563). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น สำหรับสถานศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 265-277.
ACTIONAID THAILAND. (2565). โรงเรียนขนาดเล็ก: ปัญหาที่ไม่เคยหายไป หรือโอกาสใหม่ในการจัดการศึกษา? เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://actionaid.or.th/small-school-conundrumresearch/
Likert, R. (1992). New pattern of management. New York: Wiley & Son.