แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนโรงเรียนตากพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก

Main Article Content

ภูมิ ประยูรโภคราช
สุภาภรณ์ กิตติรัชฎานนท์
สมชาย อังสุโชติเมธี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) หาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนโรงเรียนตากพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก การศึกษาวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยมี จำนวน 144 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน ครูผู้สอน 130 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.96, S.D. = 0.72) ปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีปัญหาด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ คือ ควรจัดการอบรมครูให้มีความเข้าใจที่แท้จริง ด้านการจัดการเรียนรู้ คือ ควรสำรวจข้อมูลทักษะดิจิตอลของครูเพื่อวางแผนในการพัฒนา ด้านการใช้และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ คือ ควรจัดให้มีระบบเก็บข้อมูลคลังแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง คือ ควรประชุมทำความเข้าใจนักเรียนและผู้ปกครองในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.17, S.D. = 0.24) และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.31, S.D. = 0.22)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ฉัตร์แก้ว. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในประเทศไทย 4.0 ของครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยรังสิต.

คมกริช ภูคงกิ่ง. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิพา พุมมา. (2565). แนวทางการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบ Active Learning ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. ใน สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชัน.

ประหยัด พิมพ์พา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. Academic Journal of Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus, 7(1), 242-249.

ยุภาลัย มะลิซ้อน. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนตากพิทยาคม. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR). ตาก: โรงเรียนตากพิทยาคม.

ศักดิ์นรินทร์ นิลรัตน์ศิริกุล. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก: กรณีศึกษาสหวิทยาเขตสตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). เรียกใช้เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุพีรพัชร์ พิมพ์มาศ. (2561). การศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคม สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 227-240.

เหมือนฝัน ยองเพชร. (2563). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรไท แสงลุน. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อาทิตยา จันมะโน. (2564). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.