แนวทางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียนคลองลานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียน คลองลานวิทยา 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนคลองลานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนคลองลานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนคลองลานวิทยา โดยรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.06,
= 0.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการตรวจสอบข้อมูล ด้านการประมวลผลข้อมูล และด้านการนำข้อมูลไปใช้ ปัญหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนคลองลานวิทยา โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการนำข้อมูลไปใช้ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการประมวลผลข้อมูล ด้านการจัดเก็บข้อมูล และด้านการตรวจสอบข้อมูล และแนวทางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนคลองลานวิทยา ได้แก่ ผู้บริหารควรจัดอบรมบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่งานสารสนเทศโรงเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในข้อมูลและสาระสนเทศ และควรจัดให้มีสถานที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลไว้อย่างปลอดภัยและสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ มีการวางแผน การให้บริการข้อมูลและสารสนเทศ การใช้ข้อมูลและสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานของโรงเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไกรทพนธ์ เติมวิทยขจร และศิริชัย บารมี. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระยะที่ 1. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
เจนจิรา ชูประเสริฐ. (2558). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ณนัฐรักษ์ อรุณทัต. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน กรณีศึกษา โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงใจ วงศิลา. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริการการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทวีศักดิ์ สมนอก. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาท่ีมีประสิทธิผลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทักษพร นิลทรา. (2559). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พรนับพัน หรรษา. (2560). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในเขต เทศบาลตำบลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
มลจิรา บุญเสริม. (2561). แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. ใน วิทยานิพนธ์การวิจัยครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ยุพาภร สุขสาม. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงาน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
โรงเรียนคลองลานวิทยา. (2564). รายงานการประเมินตนเอง โรงเรียนคลองลานวิทยา 2564. กำแพงเพชร: โรงเรียนคลองลานวิทยา.
สมหมาย อำดอนกลอย. (2559). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-8.