การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

Main Article Content

ลักษิกา ถ้ำหิน
ภิรดา ชัยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอกองค์การ การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ 4) ปัจจัยภายในกับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 232 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 552 คน ประกอบไปด้วย ข้าราการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ โดยคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตร Taro Yamane ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับมาก โดยส่วนใหญ่ มีระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นการประเมินค่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 1.95 และขั้นการรับรู้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 1.34 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรของสำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถาพภาพการจ้างงาน ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน ที่ต่างกันมีระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ปัจจัยภายนอกองค์การของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับปัจจัยภายในของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยกับระดับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงพร รัดสินทร. (2562). การรับรู้เทคโนโลยีที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรวรรธน์ วิมลอุดมสิทธิ์. (2563). ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบันเทิงย่านเอกมัยของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2565). พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://www.opdc.go.th/content/NzgzMA

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2565). คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ 429/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการใช้ e-Document ระดับกระทรวง. เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2565 จาก https://www.ops.go.th/th/aboutus/legal-ops/83-m-rules/7684-e-document

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2565). ระบบสารสนเทศกลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล. เรียกใช้เมื่อ 1 กันยายน 2565 จาก https://www.ops.go.th/th/personnel

Fred D. Davis. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology, Management Information Systems Research Center. Retrieved August 16, 2023, from https://www.depts.ttu.edu/rawlsbusiness/people/faculty/isqs/freddavis/index.php

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Rogers, E. & Shoemaker, F. (1978). Communication of innovations: A cross-cultural approach. New York: Free Press.

Rogers, E. M. & Floyd Shoemaker, F. (1971). Communication of diffusions: A cross cultural approach, (2nd ed.). New York: The Free Press.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of Innovations. New York: Free Press.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications.