ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

Main Article Content

นิรดา คำเสน
โสภณ เพ็ชรพวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 2) ศึกษาความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 จำนวน 291 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นสองขั้นตอนเป็นรายอำเภอ แล้วสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การทำงานเป็นทีมของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.35, S.D. = 0.58) 2) ความสุขในการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับความสุขในการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์ในทางบวก อยู่ในระดับสูง (r = .783) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนความสุขในการปฏิบัติงานของครู ได้ร้อยละ 61.30 (gif.latex?r^{2} = .613) และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า โรงเรียนบางแห่งครูมีความเห็นไม่ตรงกัน มีการประชุมเพื่อหารือน้อย ทำให้การวางแผนในการทำงานต่าง ๆ และการมอบหมายงานไม่มีความชัดเจนส่งผลให้งานไม่บรรลุประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงควรมีการปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เรียกใช้เมื่อ 14 มกราคม 2566 จาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1

ทิวา มีรัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมพลังอำนาจครูกับการทำงานเป็นทีมของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีระพล เพ็งจันทร์. (2555). การบริหารจัดการสถานศึกษา. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2566 จาก http://trang2.go.th/index.php

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Diener, E. (2003). Subjective Well-Being: The Science of Happiness and Life Satisfaction. The Oxford Handbook of Positive Psychology, 95(3), 187-189.

Manion, J. (2003). "Joy at work: Creating a positive workplace". Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.

Martin, A. J. et al. (2005). The Role of Psychological Climate in Facilitating Employee Adjustment During Organizaionl Change. European Journal of Work and Organizational Psychology, 45(5), 263-289.

Tarricone, P. (2011). Successful teamwork: A case study New South Wales. Higher Education Research and Development Society of Australasia Inc, 25(1), 640-646.

Romig, D. (1996). Breakthrough Teamwork: Outstanding Result Using Structured Teamwork. Chicago: Irwin.

Travers, C. J. & Cooper, C. L. (1996). Teacher under Pressure Stress in Teaching Profession. Journal of Education for Teaching, 24(2), 190-191.