แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตาก เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในยุคดิจิทัล โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 43 คน และประชากรที่ใช้ในการตอบแบบสัมภาษณ์ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูใน ยุคดิจิทัล โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (m=4.29, s=0.45) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน (m=4.42, s=0.44) รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำครู (m=4.41, s=0.46) ด้านการพัฒนาผู้เรียน (m=4.30, s=0.56) ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ (m=4.29, s=0.58) ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (m=4.23, s=0.50) และด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน (m=4.10, s=0.53) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูใน ยุคดิจิทัล โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ควรส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเอง มีความสามารถในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมโดยใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านสื่อดิจิทัล รวมถึงควรมีการวัดผลและประเมินผลจริง เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างเหมาะสม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ สุภาราญ. (2563). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่. เรียกใช้เมื่อ 9 ตุลาคม 2566 จาก https://www.educathai.com/knorledge./articles/372
ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. วารสาร HR intelligence, 12(2), 47-63.
ฐาปวี หนองหารพิทักษ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูระดับประถมศึกษายุคประเทศไทย 4.0. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ทิวัตถ์ เทียนศิริ. (2566). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(2), 55-69.
นิทัศน์ หามนตรี. (2558). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 177-185.
เนตรนภา ฝัดค้า. (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู ในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. สังคมศาสตร์วิจัย, 9(2), 66-84.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). ความเป็นครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มีนเซอร์วิสซัพพลาย.
เพ็ญประกาย สุขสังข์. (2563). สภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 151-166.
ภควรรณ อยู่เย็น. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล ของโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ อำเภอไชยปราการจังหวัดเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ภัทรา จรรยาธรรม. (2564). การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยศ สามเมือง. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา 2564. ตาก: โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2.
วรรญา สิงห์ทอง. (2560). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 118-128.
วริษฐา อัตโถปกร. (2561). สมรรถนะหลักของครูโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกริก.
สานิตา แดนโพธิ์. (2562). สมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 703-714.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการประเมินสมรรถนะครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.