กลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมด้านวัตถุ จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในหนังสือท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง 10 เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ ยลเสน่ห์แห่งวิถีไทย

Main Article Content

วัชรพงษ์ แจ้งประจักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกคำศัพท์ทางวัฒนธรรมด้านวัตถุและศึกษากลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมด้านวัตถุจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษที่ปรากฏในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง “10 เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ ยลเสน่ห์แห่งวิถีไทย” และฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง “10 Routes along the Waterside to Experience the Charming of Thai Way of Life” งานวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลสำคัญในการศึกษาได้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง 10 เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ ยลเสน่ห์แห่งวิถีไทยและฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง 10 Routes along the Waterside to Experience the Charming of Thai Way of Life ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ได้เผยแพร่ทางช่องทางเว็บไซต์ต่าง ๆ เครื่องมือในการวิจัยใช้แนวคิดเรื่องคำศัพท์ทางวัฒนธรรมของนิวมาร์ก ในการจำแนกคำศัพท์ทางวัฒนธรรม ผลการวิจัย พบว่า คำศัพท์ทางวัฒนธรรมด้านวัตถุ จำนวน 154 คำ แบ่งเป็น 4 หมวด คือ 1) คำศัพท์ทางวัฒนธรรมหมวดอาหาร พบจำนวน 65 คำ เช่น ตำซั่ว ลอดช่อง เป็นต้น 2) คำศัพท์ทางวัฒนธรรมหมวดอาคารและสิ่งปลูกสร้าง 49 คำ เช่น กำแพงแก้ว หลังคามุงจาก เป็นต้น 3) คำศัพท์ทางวัฒนธรรมหมวดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม พบจำนวน 23 คำ เช่น ซิ่นตา ผ้าขาวม้า ผ้าลายมุก เป็นต้น และ 4) คำศัพท์ทางวัฒนธรรมหมวดอุปกรณ์เครื่องใช้พบทั้งสิ้น 17 คำ เช่น โอ่ง โพงพาง กระชัง เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถแยกกลวิธีการแปลทั้งสิ้น 5 กลวิธี พบว่า กลวิธีการแปลโดยใช้คำยืมมีความถี่มากที่สุด (67 ครั้ง 43.50%) รองลงมา คือ การแปลโดยการใช้คำที่มีความหมายกว้าง (31 ครั้ง 20.12%) การแปลโดยการอธิบายความ (23 ครั้ง 14.93%) การแปลตรงตัว (17 ครั้ง 11.03%) และการแปลโดยการใช้คำเทียบเคียงกับคำศัพท์ทางวัฒนธรรมในภาษาปลายทาง (16 ครั้ง 10.38%) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอดคำศัพท์ทางวัฒนธรรมด้านวัตถุจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ม.ค.-ธ.ค ปี 2566 (เบื้องต้น). เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.mots.go.th/news/category/706

กัญชลิกา ตรีกลางดอน และคณะ. (2565). กลวิธีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อถ่ายทอดคำศัพท์ทางวัฒนธรรมไทย. วารสารมนุษย์กับสังคม, 8(1), 51-69.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). 10 เส้นทางท่องเที่ยวเลาะเลียบสายน้ำ ยลเสน่ห์แห่งวิถีไทย. เรียกใช้เมื่อ 22 ตุลาคม 2566 จาก https://tourismproduct.tourismthailand.org/2022/10/12/

ปิติภัทร บิลเต๊ะ และคณะ. (2564). กลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมจากคู่มือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารวจนะ, 9(2), 44-65.

วราพัชร ชาลีกุล และสานุช เสกขุนทด ณ ถลาง. (2562). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาเรื่อง เรื่องของจัน ดารา แต่งโดย อุษณา เพลิงธรรม. วารสารวจนะ, 7(1), 1-20.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2557). การแปลขั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิศา งามศรี. (2560). กลวิธีการแปลคำและวลีทางวัฒนธรรมที่พบในบทแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษกรณีศึกษาหนังสือเรื่อง “ครูบ้านนอก” โดยคำหมาน คนไค. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลภาษาอังกฤษและไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Baker, M. (2011). In Other Words: A Course Book on Translation. (2nd ed.). London: Routledge.

Newmark, P. (1988). A Textbook of Translation. Hertfordshire: Prentice Hall.

Tourism Authority Thailand. (2022). 10 Routes along the Waterside to Experience the Charming Thai Way of Life. Retrieved October 12, 2022, from https://tourismproduct.tourismthailand.org/en/2022/10/12/10-routes-along-the-waterside-to-experience-the-charming-thai-way-of-life/

Tourism Economics. (2023). WTM Global Travel Report. Retrieved March 22, 2024, from https://www.wtm.com/content/dam/sitebuilder/rxuk/wtmkt/documents/WTM-Global-Travel-Report-v4.pdf.coredownload.990096961.pdf