แนวทางการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็กในอำเภอเมืองตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

Main Article Content

ชนกานต์ พันธุศรี
สุรพงษ์ แสงสีมุข
สุเนตร ทองคำพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็กในอำเภอเมืองตาก และ 2) หาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็กในอำเภอเมืองตาก แบ่งเป็น 2 ขั้น คือ การศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการ และการหาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็กในอำเภอเมืองตาก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสถานศึกษาขนาดเล็กในอำเภอเมืองตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 124 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้เป็นการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu = 4.41, gif.latex?\sigma = 0.51) เรียงจากสูงไปหาต่ำ คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ ปัญหาที่พบ คือ ไม่ได้ร่วมจัดชั้นเรียน การรับนักเรียนและการจัดครูเข้าสอน การนำแผนงานไปดำเนินการอย่างเป็นระบบ การกำกับติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรม และการเป็นสมาชิกในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็ก ผู้บริหารควรจัดประชุมให้ครูร่วมกันจัดชั้นเรียน จัดครูเข้าสอนและรับผิดชอบรายกลุ่มสาระตามความรู้ ร่วมปรับโครงสร้างการบริหาร ร่วมกันวิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อพัฒนางานวิชาการ และร่วมกันกำหนดเกณฑ์การประเมินผลสำเร็จในการปฏิบัติงานของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรา แก้วมะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จิราวรรณ รินทรา. (2562). แนวทางการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรสถานศึกษาในอำเภอสามง่าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณัฐพงษ์ คำเขิน. (2566). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษในเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บุษบา เคะนะอ่อน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

วชิรวิทย์ ชินะข่าย. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเวียงแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศิริเกศ เพ็ชรขำ. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่องานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. (2565). รายงานผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565. ตาก: กลุ่มนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานแผนและโครงการ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เหมภัส เหลาแหลม. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรังสิต.

อรรถชัย กาหลง. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของรัฐในจังหวัดเพชรบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

อัศวรินทร์ แก่นจันทร์. (2562). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.