รูปแบบการสื่อสารภาพลักษณ์ตราสินค้าผ่านโฆษณาแฝงในซีรีส์วาย

Main Article Content

ศุภกิตติ์ กันอุปัทว์
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการวางแผนการสื่อสารภาพลักษณ์ผ่านโฆษณาแฝงในซีรีส์วาย และ 2) เพื่อเสนอรูปแบบการสื่อสารภาพลักษณ์ตราสินค้าผ่านโฆษณาแฝงในซีรีส์วาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 12 ท่าน ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้กำกับ และตัวแทนจากบริษัทที่เป็นเจ้าของสินค้าโดยตรง ที่เกี่ยวข้องกับซีรีส์วาย 3 เรื่อง เดือนเกี้ยวเดือน ไอหลงไน๋ และคินน์ พอร์ช เดอะซีรีส์ ลา ฟอร์เต้ เพื่อศึกษากระบวนการวางแผนการสื่อสารภาพลักษณ์ผ่านโฆษณาแฝงในซีรีส์วาย ควบคู่กับการวิเคราะห์เอกสาร ซึ่งในที่นี้คือ วีดีโอซีรีส์วายทั้ง 3 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการวางแผนการสื่อสารภาพลักษณ์ผ่านโฆษณาแฝงในซีรีส์วาย มีกระบวนการเหมือนการขายงานโฆษณาปกติ ซึ่งมีเป้าหมายการโฆษณาเพื่อสร้างความรู้จักกับตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ สร้างความชอบและเตือนความจำเมื่อเห็นซ้ำ กระตุ้นการซื้อซ้ำ รวมถึงต้องการสื่อสารภาพลักษณ์ ได้แก่ ความมีเอกลักษณ์ ทันสมัย มีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ กระบวนการวางแผน มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ 2) กระบวนการฝั่งผู้ผลิตซีรีส์วาย 3) กระบวนการฝั่งลูกค้าหรือบริษัทโฆษณา 4) ออกอากาศ และ 5) สรุปผล 2) รูปแบบการสื่อสารภาพลักษณ์ตราสินค้าผ่านโฆษณาแฝงในซีรีส์วาย พบว่า มี 6 รูปแบบ ได้แก่ วางผลิตภัณฑ์ประกอบฉาก (Product Placement) การเคลื่อนไหวของผลิตภัณฑ์ในฉาก (Product Movement) วีทีอาร์ผู้สนับสนุนหัวเบรกและท้ายเบรก (VTR) แบบใช้ตราสินค้า หรือสัญลักษณ์ (Sign) ป้ายในเนื้อหา (Signboard) และการสอดแทรกบท (Script)

Article Details

How to Cite
กันอุปัทว์ ศ., & วิจิตรจามรี ณ. (2024). รูปแบบการสื่อสารภาพลักษณ์ตราสินค้าผ่านโฆษณาแฝงในซีรีส์วาย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(5), 136–146. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/277149
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2566). “ซีรีส์วาย” คอนเทนต์พันล้าน สื่อนอกจับตา อาจเทียบชั้น “K-POP”. เรียกใช้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/entertainment/1062305

ณัฐธิดา เสถียรพันธุ์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และใช้บริการ โรงภาพยนตร์ลิโด้ คอนเน็คท์ ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธมน ผดุงไทย. (2565). ทำไมซีรีส์วายไทย ถึงฮอตฮิตไปทั่วโลก. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก https://thestandard.co/podcast/

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2552). รู้เท่าทันโฆษณาแฝง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออฟเซ็ทครีเอชั่น จำกัด.

บดินทร์ เดชาบูรณานนท์. (2556). ระบบสัญลักษณ์ และเทคนิคการนำเสนองานโฆษณาสินค้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางสื่อนิตยสาร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 16(19), 142-163.

ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูป. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). เรื่องย่อซีรีส์วาย "KinnPorsche The Series" (คินน์ พอร์ช เดอะซีรีส์) มีคลิป. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 จาก https://mgronline.com/drama/detail/9650000023554

มาร์เก็ตติ้งอุ๊ปส์ดอทคอม. (2563). คอนเทนต์ “ซีรีส์วาย” กลายเป็น “กระแสหลัก” นักการตลาด-นักโฆษณาจะจับเทรนด์นี้อย่างไร ? เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จากhttps://www.marketingoops.com/exclusive/business-case/line-tv-y-series-trends/

สนุกดอทคอม. (2560). เดือนเกี้ยวเดือน เดอะซีรีส์ เรื่องย่อ. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก https://www.sanook.com/movie/67557/

สนุกดอทคอม. (2565). เรื่องย่อซีรีส์ อัยย์หลงไน๋ ซีรีส์ใหม่ทางช่อง 3. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2566 จาก https://www.sanook.com/movie/130517/

สมาคม มีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย. (2566). ภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2565. เรียกใช้เมื่อ 2566 สิงหาคม 9 จาก https://www.matichon.co.th/publicize/news_3915684