การใช้หลักไตรสิกขาในการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น ของประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา

Main Article Content

อิสราทิตย์ ขุนทองจันทร์
สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้หลักไตรสิกขาในการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา และ 2) แนวทางการพัฒนาใช้หลักไตรสิกขาในการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครสงขลา จำนวน 397 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายกระจายทั้ง 4 เขตเลือกตั้ง 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกเทศมนตรีนครสงขลา รองนายกเทศมนตรีนครสงขลา ปลัดเทศบาลนครสงขลา ประธานชุมชน ประชาชน และพระภิกษุ เลือกสุ่มแบบเจาะจง รวม 6 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้หลักไตรสิกขาในการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.29) เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หลักจิตตสิกขา (สมาธิ) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.48) รองลงมา คือ หลักสีลสิกขา (ศีล) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.44) และหลักปัญญาสิกขา (ปัญญา) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 3.97) ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาการใช้หลักไตรสิกขาในการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า ประชาชนต้องตัดสินใจเลือกนักการเมืองท้องถิ่น ที่มีพฤติกรรมดี เป็นผู้ที่เคารพกติกาของสังคมจนเป็นแบบอย่างที่ดีได้ มีความอดทนต่อการทำงานให้จนสำเร็จ เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น และมีความกตัญญูต่อบิดา มารดา และชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การุณย์ลักษณ์ พหลโยธิน และคณะ. (2565). การตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(2), 62-76.

ดิจิตอลสคูล. (2566). ไตรสิกขา. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2566 จาก http://www.anc.ubu.ac.th

เทศบาลนครสงขลา. (2566). ข้อมูลทั่วไปของเทศบาลนครสงขลา. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2566 จาก https://www.songkhlacity.go.th/2020/frontpage

ธเนศพล ธนบุณยวัฒน์. (2561). เอกสารวิชาการส่วนบุคคล.การเลือกตั้งในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย. กรุงทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พระไกรวิน ก๋องแก้ว และคณะ. (2565). การศึกษาหลักปฏิบัติไตรสิกขาตามแนวทางโอวาทของพระสารีบุตร. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 11(2), 67-79.

พระสมพงษ์ สุวโจ (ไชยณรงค์). (2561). การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการดำเนินชีวิตในสังคมยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 2(1), 15-23.

มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2563). ประไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหามกุฎราชวิทยาลัย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย นครปฐม.

สุนา ผาด่านแก้ว. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.

อังศุพร บิลหมัน. (2561). การตัดสินใจเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาล เมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Yamane. T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.