การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากร ในสังกัดเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วันทนา พวงจันทร์
พระครูปลัดอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรและ 2) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรในสังกัดเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ พนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ จำนวน 78 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์เสด็จ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ นักวิชาการตรวจสอบภายใน เลขานุการเจ้าคณะตำบลเชียรใหญ่-ชะอวด-ทุ่งสง ประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตำบลโพธิ์เสด็จ รวม 5 คน โดยแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรในสังกัดเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.40, ) เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านสูงสุด คือ หลักจิตตะ (มีความจดจ่อในการปฏิบัติงาน) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.50) รองลงมา คือ หลักวิริยะ (มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติงาน) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.44) หลักฉันทะ (มีความพอใจในการปฏิบัติงาน) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.35) และหลักวิมังสา (มีความคิดรอบคอบ ในการปฏิบัติงาน) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.31) 2) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรในสังกัดเทศบาลตำบลโพธิ์เสด็จ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ควรนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและจริงจังโดยเฉพาะหลักวิมังสา เพราะการปฏิบัติงานตามภารกิจของรัฐเกี่ยวข้องกับระเบียบและกฎหมายต่าง ๆ จึงต้องการไตร่ตรองและความรอบคอบเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา แสงเนาวรัตน์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาสาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จตุพร ไกรกิจราษฎร์. (2565). หลักธรรมาภิบาล: การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 345-358.

จักรวาล สุขไมตรี และบุษราภรณ์ ร่มเลิศสุข. (2563). การประยุกตใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กร สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วารสารราชพฤกษ์, 18(1), 58-64.

จิรัตติกาล สุขสิงห์. (2565). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 211-219.

ชานนท์ ทองสุกมาก. (2563). บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามหลักการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. วารสารกฎหมายนิติพัฒน์นิด้า, 9(1), 72-90.

ณัทกวี ศิริรัตน์ และคณะ. (2565). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การบริการสาธารณะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 131-142.

พระบุญเสริม อาจดวงดี และจักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2564). หลักอิทธิบาท 4 กับการพัฒนาศักยภาพการทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 3(2), 29-37.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

วีณา ขำคง. (2564). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสกสรร ตันติวนิช. (2562). แนวคิด กระบวนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวโน้มการปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(1), 80-85.