การใช้หลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กรณ์ภูกฤษณ์ ธีรโรจนวงศ์
กันตภณ หนูทองแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้หลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 2) แนวทางการส่งเสริมการใช้หลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตัวแทนประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ระดับ จำนวน 6 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่
ใช้วิจัย คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า
1) การใช้หลัก สาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยรวม
อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.20) พิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หลักเมตตามโนกรรม (gif.latex?\bar{x} = 4.41) รองลงมา คือ หลักเมตตากายกรรม (gif.latex?\bar{x} = 4.37) หลักสีลสามัญญตา (gif.latex?\bar{x} = 4.33) หลักเมตตาวจีกรรม (gif.latex?\bar{x} = 4.24) หลักทิฏฐิสามัญญตา (gif.latex?\bar{x} = 4.18) และหลักสาธารณโภคี (gif.latex?\bar{x} = 3.66) ตามลำดับ 2) แนวทางการส่งเสริมการใช้หลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปเป็นองค์ความรู้ คือ MMW Model ได้แก่ 1) M (Morality) ศีล หมายถึง ข้อควรในการปฏิบัติงาน คือ หลักเมตตากายกรรม หลักเมตตาวจีกรรม และหลักสีลสามัญญตา 2) M (Meditation) สมาธิ หมายถึง การสำรวมจิตใจ ตั้งมั่น ปรารถนาดี คือ หลักเมตตามโนกรรม และ 3) W (Wisdom) ปัญญา หมายถึง ความเข้าใจ การรู้ตน รู้งาน คือ
หลักสาธารณโภคี และหลักทิฏฐิสามัญญตา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยกร ลาภเดโช และสุกิจ ชัยมุสิก. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 263-274.

คุณากร เกื้อด้วง. (2566). การอยู่ร่วมกันเพื่อสังคมสันติสุขโดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(1), 82-93.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชนูปถัมถ์.

พศิน สินมา และพระสุทธิสารเมธี. (2566). การประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานสังคมสงเคราะห์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 28(1), 1-12.

ยอดขวัญ มณีฉาย. (2565). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งโดยใช้หลักสาราณียธรรม ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านไสกรูด ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ระพีพรรณ คำหอม และรณรงค์ จันใด. (2561). หลักการและกระบวนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์จุลภาค. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีรศักดิ์ สุรเมธี. (2555). สาราณียธรรม 6. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.gotoknow.org/posts/460447

สามารถ มังสัง. (2562). สาราณียธรรม 6: หลักการในการอยู่ร่วมกัน. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2566 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000029668

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปี 2565. นครศรีธรรมราช: สำนักงานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.