พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวของ ผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นในประเทศไทย

Main Article Content

ธีรภา วิวัฒนศักดิ์
สุชาติ ปรักทยานนท์
กฤษฎาภรณ์ รุจิธำรงค์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวของผู้บริโภควัยรุ่นในประเทศไทย ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรม การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวของผู้บริโภควัยรุ่น การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ทำการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภควัยรุ่นที่ใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวของผู้บริโภควัยรุ่นในประเทศไทย ด้วยค่าไคสแควร์ (chi-square test) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวของผู้บริโภควัยรุ่นในประเทศไทยอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.36 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริโภควัยรุ่นให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมา คือ ราคา ผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด สำหรับผลการทดสอบความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ประจำต่อเดือน จำนวนสมาชิกครอบครัวที่อาศัยอยู่ด้วยกัน และเขตพื้นที่พักอาศัย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวของผู้บริโภควัยรุ่นในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรสไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวของผู้บริโภควัยรุ่นในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
วิวัฒนศักดิ์ ธ., ปรักทยานนท์ ส., & รุจิธำรงค์กุล ก. (2024). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเซรั่มวิตามินซีบำรุงผิวของ ผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(5), 118–127. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/276746
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ฐานะเจริญกิจ และวรัญญา ติโลกะวิชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ขอนแก่น: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จุฑารัตน์ ทองสนิท และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าออร์แกนิกของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(2), 9-19.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด มหาชน. (2566). เครื่องสำอางเมดอินไทยแลนด์ ธุรกิจนี้ยังสดใสท่ามกลาง “คู่แข่ง”. เรียกใช้เมื่อ 7 ตุลาคม 2566 จาก https://www.krungsri. com/th/plearn-plearn/ cosmetics-made-in-thailand

ภัทรวรรณ รัตนาวิวัฒน์พงศ์. (2563). การศึกษาประสิทธิผลการใช้เซรั่มวิตามินซี วิตามินอีและสารสกัดจากเซลล์เพาะเลี้ยงของใบราสเบอร์รี่ในการชะลอความชราผิวหน้า. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภิญญดา รื่นสุข และศิริรัตน์ สัยวุฒิ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางของประชาชนในร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น สาขาโคกมะลิ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(3), 255-268.

รุ่งนภา เรืองศิริวิวัฒน์. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทวิตามินซีชนิดเม็ด. วารสารราชนครินทร์, 14(2), 121-125.

ฤดีพร โคตรสงคราม และคณะ. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดจันทบุรี. วารสารสุขศึกษา, 44(1), 115-128.

วรงรอง ศรีศิริรุ่ง และคณะ. (2561). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและการบริการของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารช่อพะยอม, 29(2), 397-405.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). ผิวสวยแบบวัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 7 ตุลาคม 2566 จาก https://www.thaihealth.or.th

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 8 ปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer behavior. (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice Hall, Inc., Engle clips.