พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอมในประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม และ
หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม
ในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก
กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอมที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน
หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม
ในประเทศไทย ด้วยค่าไคสแควร์ (Chi-square test) ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอมในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อมะพร้าวผลสด มีความถี่ในการซื้อเดือนละ 1-2 ครั้ง ค่าใช้จ่าย
ต่อครั้งในการซื้อไม่เกิน 100 บาท และส่วนใหญ่ซื้อจากร้านค้าริมทาง ทั้งนี้ในภาพรวมปัจจัยส่วนประสม
ทางการตลาดมีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.13
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทาง
การจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม
ในประเทศไทย พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส และรายได้ประจำต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม ในขณะที่ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวนสมาชิกครอบครัวที่อาศัย
อยู่ด้วยกันและเขตพื้นที่พักอาศัย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวน้ำหอม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมียม กรณีศึกษาผู้บริโภค ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปวรุตม์ ครุฑเมือง และคณะ. (2566). ส่วนประสมทางการตลาดและความ พึงพอใจของลูกค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อมะพร้าวน้ำหอม จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 73-84.
เปรมปวีณ์ ปิ่นแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากมะพร้าวน้ำหอมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
วนิดา วัฒนชีวโนปกรณ์ และสิทธิพร รุจิระยรรยง. (2561). ปัจจัยกำหนดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอมและน้ำมะพร้าวของไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 38(2), 82-103.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2566). โอกาสมะพร้าวน้ำหอมไทยก้าวไกลในตลาดโลก. วารสาร สนค., 13(139), 1-12.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). นื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร รายจังหวัด ปี พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2566 จาก https://www.oae.go.th/view/1/การใช้ที่ดิน/TH-TH
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (2561-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2566 จาก http://nscr.nesdc.go.th/master-plans/
อิราวัฒน์ ชมระกา และคณะ. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ลองกองจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 4(1), 57-76.
Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice Hall, Inc., Engle clips.