ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเทปกาวทางออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าเทปกาวออนไลน์
2) พฤติกรรมการซื้อสินค้าเทปกาวออนไลน์ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าเทปกาวทางออนไลน์จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเทปกาวทางออนไลน์ เลือกตัวอย่าง จำนวน 400 ชุด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและค่าเฉลี่ย t - test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ f - test (One - way ANOVA) และ Multiple Regression Analysis พบว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้าเทปกาวทางออนไลน์ ส่วนมากเหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าเทปกาวผ่านช่องทางออนไลน์ สะดวกในการซื้อ วัตถุประสงค์ในการซื้อสินค้าเทปกาวผ่านทางช่องทางออนไลน์เพื่อนำไปใช้เอง บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าเทปกาวผ่านช่องทางออนไลน์จะเป็นผู้สั่งสินค้าเอง ช่วงเวลาที่เลือกซื้อสินค้าเทปกาวผ่านทางช่องทางออนไลน์จะเป็น วันจันทร์ - วันศุกร์ หากซื้อสินค้าเทปกาวผ่านช่องทางออนไลน์ Shopee วิธีการชำระเงินปลายทาง ความถี่ในการซื้อสินค้าเทปกาวทางออนไลน์ เฉลี่ย 6.96 ครั้งต่อปี ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ เป็นจำนวน 425.48 บาทต่อครั้ง ข้อเสนอแนะ ด้านผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าเทปกาวให้มีความเหนียวแน่น มีฉลากบ่งชี้คุณสมบัติอย่างชัดเจน ด้านราคาควรกำหนดราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพมีการระบุราคาอย่างชัดเจน ด้านการจัดจำหน่ายควรมีช่องทางการขายที่สร้างความสะดวกในการซื้อ มีบริการจัดส่งสินค้าที่หลากหลายวิธี ด้านการส่งเสริมการตลาดควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น การลดราคา และมีการคืนกำไรให้ผู้บริโภคที่ซื้อต่อเนื่อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัยการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑามาศ วิเศษพุทธศาสน์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 7 มิถุนายน 2566 จาก https://3mit.ru.ac.th /journals/it14/6114193009%20%
ฑิฆัมพร ยอดปัญญา. (2563). พฤติกรรมการซื้อเครื่องเขียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Shopee ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐกานต์ กองแก้ม. (2559). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บีแอลที. (2563). ร้านค้าออนไลน์ยอดขายโต 78.85% ในเดือนมีนาคมจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.bltbangkok.com/news/19514
แบงค์ สิทธินันท์. (2565). วิธีการเอาคอนเทนต์จากแหล่งต่าง ๆ ไปใช้ต่อและวิธีการอ้างอิงอย่างมีสไตล์ 6 และมีมารยาท. เรียกใช้เมื่อ 6 มิถุนายน 2566 จาก https://contentshifu.com/pillar/digital-marketing-pros-and-cons
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอกทัศน์ พานิชรักษาพงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการซื้อหนังสือผ่านช่องทางการจำหน่ายหนังสือออนไลน์ร้านหนังสือนายอินทร์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอ็มจีอาร์. (2556). ทำไมต้องขายสินค้าบนโลกออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2566 จาก https:// mgronline.com/smes/detail/9560000059748
Kotler, P & Keller, L.K. (2016). Marketing Management (15th ed.). New York: Pearson Education Inc.