การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่ ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตท้องที่ตำบลกรุงหยัน จำนวน 183 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า
1) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยแปลผล อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ พบว่า ด้านที่อยู่อาศัย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (
= 3.38) รองลงมา ได้แก่ ด้านจิตใจ (
= 3.25) และด้านการเข้าถึงสวัสดิการและบริการภาครัฐ (
= 3.23) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (
= 3.22) ส่วนด้านร่างกาย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (
= 3.15) 2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเปราะบางตำบลกรุงหยัน ด้านร่างกาย พบว่า ควรส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ โภชนาการ
การออกกำลังกาย การรักษาพยาบาล ด้านจิตใจ พบว่า ควรส่งเสริมความสัมพันธ์ การจัดการความเครียด และค้นหาความสมดุลให้ชีวิตมีความหมาย เต็มไปด้วยความสุข และทัศนคติเชิงบวก ด้านที่อยู่อาศัย พบว่า ควรส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างเครือญาติ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม พบว่า ควรส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกและตอบสนองกับผู้อื่น กับครอบครัว เพื่อน ด้านการเข้าถึงสวัสดิการและบริการภาครัฐ พบว่า ควรส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม โอกาสที่เท่าเทียมกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลธิดา ศรีวิเชียรและคณะ. (2564). การสังเคราะห์องค์ความรู้และสถานการณ์การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ประเด็นสิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 189(1), 189-221.
นิภาวรรณ เจริญลักษณ์. (2566). การวิจัยและพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาในการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มเปราะบางในชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทาศน์ มจร., 848(1), 848-861.
พรทิพย์ แท่นทอง. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดธัญวัฒน์ อโสโก (รักษ์เพ็ชร). (2562). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านบ่อเกตุ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์ พริ้นเตอร์ แมส โปรดักส์ จำกัด.
พัชราณี กิจชมพู. (2555). “คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์”. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). วีพีเอส: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 13). (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง, หน้า 9 (1 พฤศจิกายน 2565).
สุภัทชัย ดำสีใหม่. (2565). ศึกษาความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ชุมชนตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุดมลักษณ์ เวชชพิทักษ์ และประกาศ เปล่งพานิชย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้อยู่ในภาวะยากลำบาก และกลุ่มเปราะบางทางสังคมผ่านกลไกกองทุนประชารัฐเพื่อสังคม จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหศาสตร์, 5(1), 5-31.