การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ได้แก่
กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว กลุ่มผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยว กลุ่มนักวิชาการพัฒนาชุมชน กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นักวิชาการวัฒนธรรม นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ และการวิจัยเชิงปริมาณ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามจากประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
อย่างยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยรวม ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนใน
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้านการให้ความรู้และสร้างจิตสำนึก ด้านการจัดการในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และด้านศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ( = 3.59) และ 2) ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง พบว่า ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการวางแผน มีการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีผลกระทบต่ำ การจัดการพื้นที่ทางสังคม นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการท่องเที่ยวชุมชนด้วยตนเองได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พยุงพร ศรีจันทวงษ์. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมภูเตาโปงบ้านบุ่งกุ่ม ตำบลนาหอ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(51), 33-43.
พัชรินทร์ จึงประวัติ. (2560). ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษาตลาดคลองสวนร้อยปี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 12(1), 36-49.
ไพริน เวชธัญญะกุล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการพัฒนาท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 51-63.
ภาสกร จวนสาง. (2565). การประเมินศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าล้ง จังหวัดอุบลราชธานี และชุมชนบ้านท่าวัด จังหวัดสกลนคร. วารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 353-374.
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล. (2539). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. ขอนแก่น: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ราณี อิสิชัยกุล และรชพร จันทร์สว่าง. (2560). การพัฒนามาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(ฉบับพิเศษ), 1-17.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2565 จาก https://www.nesdc.go.th.
อัจฉราพรรณ ตั้งจาตุรโสภณ และคณะ. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อจุดหมายปลายทาง ในการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(2), 174-188.
อุษณีย์ วัชรไพศาลกุล. (2563). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(3), 107-119.
Lascurain, C. (1991). Tourism, ecotourism and protected areas park.UK: International Organizati on for Conservation of Nature.