การเปิดรับสื่อการ์ตูนญี่ปุ่น ทัศนคติ และการตระหนักรู้คุณธรรม ของผู้ชม Generation Y
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อการ์ตูนญี่ปุ่น 2) ทัศนคติที่มีต่อสื่อการ์ตูนญี่ปุ่น
3) การตระหนักรู้คุณธรรมของผู้ชม Generation Y 4) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการเปิดรับสื่อการ์ตูนญี่ปุ่น ทัศนคติ และการตระหนักรู้คุณธรรม โดยการศึกษางานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจรูปแบบการวิจัย
เชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ชม Generation Y ที่มีอายุ 23 - 42 ปี จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนประชากร ทั้งนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็นการวิเคราะห์ด้วยสถิติ
เชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งสถิติอนุมานที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน รวมถึงใช้การทดสอบความแตกต่างรายคู่หากพบ
ความแตกต่างในการวิเคราะห์ โดยผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรจำแนกตามเพศ และระดับการศึกษามีการเปิดรับสื่อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่แตกต่างกันที่อาชีพของกลุ่มตัวอย่าง
โดยมีระยะเวลาการเปิดรับชมเฉลี่ยอยู่ที่ 5ชม./สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อเนื้อหาที่สะท้อนคุณธรรมใน
เรื่องของความรับผิดชอบมากที่สุด และมีการตระหนักรู้คุณธรรมในด้านความรับผิดชอบมากที่สุดเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ผลการวิจัยของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 3 พบว่า การเปิดรับสื่อการ์ตูนญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางบวก กับทัศนคติที่มีต่อสื่อการ์ตูนญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ต่อมา คือ การเปิดรับสื่อการ์ตูนญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การตระหนักรู้คุณธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทัศนคติที่มีต่อสื่อการ์ตูนญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตระหนักรู้คุณธรรมของผู้ชมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อสารศึกษาไทย. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ขจิตขวัญ กิจวิสาละ. (2564). ศาสตร์การเล่าเรื่องในสื่อสารศึกษา. วารสารศาสตร์, 14(3), 9-85.
ชวรินทร์ ศิลปสุวรรณ. (2558). การเรียนรู้ของเยาวชนไทยเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านสื่อการ์ตูนญี่ปุ่น. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล. (2555). ผลกระทบของงานโฆษณาที่มีต่อการเรียนรู้ของเยาวชน กรณีศึกษา : เยาวชนชุมชนสวนอ้อย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เญยยา จิตรใจเย็น. (2565). การรับรู้วัฒนธรรม และองค์ประกอบการเล่าเรื่องที่ดึงดูดการชมอนิเมะญี่ปุ่น. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบันฑิต สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณิชาภัทร ตั้นจัด. (2563). การเปิดรับชมอนิเมะผ่านวิดีโอสรีมมิ่งกับการรับรู้วัฒนธรรมสมัยนิยมของญี่ปุ่น. ใน การค้นคว้าอิสระวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไทยรัฐออนไลน์. (2564). สำรวจปรากฏการณ์ Anime Boom : ทำไม ‘อนิเมะญี่ปุ่น’ จึงอยู่ยั้งยืนยง. เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/entertain/inter/2087431
ธนบดี วรวงศ์เธอ. (2565). ปัจจัยจากแรงจูงใจของการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีต่อผลความสำเร็จในการประกอบอาชีพของผู้คนในเจนเนอร์เรชันวายในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.
นรงค์ เติมอินทร์. (2550). หนังสือการ์ตูนที่วัยรุ่นไทยในชนบทชอบอ่านมากที่สุด พ.ศ. 2550 : กรณีศึกษาอำเภอกระนวน. ใน การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิพนธ์ คุณารักษ์. (2552). ภาษาภาพยนตร์: องค์ประกอบของภาพยนตร์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น, 1(1), 20-29.
ปรมะ สตะเทวิน. (2540). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
ปารณพัฒน์ แอนุ้ย. (2560). การเรียนรู้ทางสังคมของแฟนภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นชุด มาสค์ไรเดอร์. ใน วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลงทุนแมน. (2566). ญี่ปุ่น ดูดเงินเข้าประเทศ 300,000 ล้าน ด้วย อานิเมะ. เรียกใช้เมื่อ 30 สิงหาคม 2566 จาก https://www.longtunman.com/43850
ศุภนิดา จันทร์กระจ่าง. (2563). การเปิดรับทัศนคติ และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้บริโภคต่อการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัลกอริทึมและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนเฟซบุ๊ก. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาดา ปราบมีชัย และสมสมร เรืองวรบูรณ์. (2560). ผลของสื่อแอนิเมชั่น ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 96-109.
ETDA. (2022). ETDA reveals that Gen Y reclaims the throne, uses the internet the most, almost 8 hours a day, most popular, watch LIVE COMMERCE, civil servants and government officials. Win every career, use the internet almost 12 hours a day. Retrieved July 16, 2023, from https://www.etda.or.th/th/pr-news/iub2022.aspx
Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Reading, MA: Addison-Wesley.
Hilgard, E. R. & Bower, H. (1981). Theories of learning. (5th ed.). New Jersey: Prentice - Hall.like -to - watch - cartoons.
MGR Online. (2022). Japan model birth "Blue Lock Buriram" Association joins hands with Newin Create new blood players Following themanga. Retrieved August 20 , 2023, from https://mgronline.com/sport/detail/9650000116097
Mission To The Moon. (2023). As an adult, why do you still watch cartoons? About small happiness of being an adult. Retrieved March 29, 2024, from https://missiontothemoon.co/psychology-why-adults-like-to-watch-cartoons/
Schramm, W. (1973). Channels and Audiences. In Handbook of communication. Chicago: Rand Mcnally College Publishing.
The MATTER. (2017). “What can you do if you like cartoons?” From dream to reality Cartoon people's life path. Retrieved August 15 , 2023, from https://thematter.co/entertainment/reading-too-much-cartoon-may-lead-you-to-a-job/20859