การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์บริเวณเมืองเก่าในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

พระครูโสภรณรัตนบัณฑิต .
ไพรัตน์ ฉิมหาด
ประสิทธิ์ รักนุ้ย
วนิดา เหมือนจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและการย้ายถิ่นฐานเมืองเก่าในจังหวัดสงขลา 2) วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์บริเวณเมืองเก่าในจังหวัดสงขลาและ 3) พัฒนาเครือข่ายการอนุรักษ์โบราณสถานบริเวณเมืองเก่าในจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการปฏิบัติการวิจัย นำเสนอผลการวิจัยแบบอุปนัย โดยนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ จากนั้นนำมาตีความหมายเชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดสงขลาจึงมีลักษณะของความเป็นเมืองเก่าที่โดดเด่น คือ เมืองหรือบริเวณของเมืองที่เคยเป็นตัวเมืองดั้งเดิมในสมัยหนึ่งยังคงมีลักษณะเด่น ประกอบด้วยโบราณสถาน ซึ่งในส่วนของฝั่งเมืองเก่าหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร เป็นที่ตั้งของวัดสี่วัด คือ วัดสุวรรณคีรีวัดบ่อทรัพย์ วัดศิริวรรณาวาสและวัดภูผาเบิก เมืองเก่าในจังหวัดสงขลาแบ่งตามอายุสมัยได้ 2 ยุค คือ ยุคก่อนเมืองสงขลาและยุคเมืองสงขลา ในยุคเมืองสงขลาจะแบ่งได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยแรกเป็นเมืองสงขลาเก่าหัวเขาแดง สมัยที่สอง คือ สงขลาเก่าฝั่งแหลมสน 2) ในอดีตสงขลาเป็นเมืองท่าโบราณทมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมและเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการอนุรักษ์พัฒนาเมืองเก่าสู่เมืองมรดกโลก ด้วยการสร้างมูลค่านำจุดเด่นของเมืองเก่าสงขลามาเป็นจุดขายเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นให้คนในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ท้องถิ่นได้อย่างลงตัว 3) เครือข่ายจะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีเครือข่ายภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน คือ ชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎหมายเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า. (2564). รัฐสภา. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2566 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1709

กรมศิลปากร. (2560). ประวัติและบทบาทหน้าที่. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2565 จาก http://web.finearts. go.th/literatureandhistory/ประวัติและบทบาทหน้าที่.html

กุลแก้ว คล้ายแก้ว และ คณิต เขียววิชัย. (2566). เมืองมรดกโลกกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(2), 25-40.

จุฑามาศ อ.อุ้ย. (2553). การพัฒนาเชิงพื้นที่ area based. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2566 จาก https://www. gotoknow.org/posts/400631

ชพฤกษ์ พิกุล. (2566). แนวทางการพัฒนาแหล่งโบราณคดีโคช้างเผือก การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(3), 471-485.

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ และคณะ. (2563). การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสนติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 405-416.

ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2561). วัดสุวรรณคีรี (Wat Suwankhiri). เรียกใช้เมื่อ 3 กรกฎาคม 2565 จาก https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/1/05a6a70a

ฐิตาภา บำรุงศิลป์ และคณะ. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์ต่อยอดวัฒนธรรมลาวครั่ง บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(1), 50-51.

แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2570) เทศบาลนครสงขลา. (2564). ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2565 จาก https://www.songkhlacity.go.th/2020/files/ com_strategy/2021-12_6965f656290afb2.pdf

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง (1 พฤศจิกายน 2665).

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (5) ประเด็น การท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561 - 2580). (2562). แผนย่อยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม. เรียกใช้เมื่อ 31 กรกฎาคม 2566 จาก http://nscr.nesdc.go. th/wp-content/uploads/2019/04/05-การท่องเที่ยว.pdf

พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม และคณะ. (2564). การบริหารจัดการโบราณสถานในวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารมจร อุบลปริทรรศน์, 6(1), 651-664.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. (2558). ประวัติความเป็นมา. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2565 จาก http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/songkhla/index.php/th/ความเป็นมา-about-us.html

ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม. (2556). เกี่ยวกับภาคี. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2566 จาก https://www. songkhla-ht.org/about

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. (2561). ราชกิจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก (13 ตุลาคม 2561).

เรื่องราวหาดใหญ่. (2564). หอวิเชียรเทวดำรง ที่ประดิษฐานแผ่นป้ายบูชาของตระกูล ณ สงขลา และศิลาจารึกสวนตูล. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.hatyaifocus.com/บทความ/3029-เรื่องราวหาดใหญ่-หอวิเชียรเทวดำรง%2B%2Bที่ประดิษฐานแผ่นป้ายบูชาของตระกูล%2Bณ%2Bสงขลา%2Bและศิลาจารึกสวนตูล/

สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดสงขลา. (2565). จังหวัดสงขลาประชุมคณะทำงานเตรียมการเสนอเมืองเก่าสงขลา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทางด้านวัฒนธรรม เพื่อเตรียมการจัดทำข้อมูลเข้าสู่บัญชีรายชื่อ “Tentative List” ของศูนย์มรดกโลก. เรียกใช้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 จาก https://songkhla.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/143184

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา. (2559). วัดภูผาเบิก. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2565 จาก https://www 2.m-culture.go.th/songkhla/ewt_news.php?nid=561&filename=index

อินฺทภตฺติโก. (2564). "วัดบ่อทรัพย์" สงขลา. เรียกใช้เมื่อ 11 กรกฎาคม 2565 จาก https://travel.trueid. net/detail/7zMQQl2gEavz

Sitarin T. (2557). ความหมายของความคิดสร้างสรรค์. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2566 จาก https://jennyand firm. wixsite.com/sitarin/about2-c1ky5