การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 836 รูป/คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อถือ 0.988 ที่ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมเอมอส ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบความซื่อสัตย์ มีค่าเฉลี่ย 4.66 องค์ประกอบความไว้วางใจ มีค่าเฉลี่ย 4.51 องค์ประกอบความยุติธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.55 และองค์ประกอบความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.56 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือมากกว่า 3.00 เพื่อคัดสรรกำหนดไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกตัว และ 2) โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดีมากโดยพิจารณาจากค่าไค - สแควร์ เท่ากับ 19.047 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P - value เท่ากับ 0.060) ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 11 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.997 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.965 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.030 องค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กล้า ทองขาว. (2562). วิกฤติภาวะผู้นำทางการศึกษาแนวทางการวิจัยและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
คำพร กองเตย. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยุทธ ชูสอน. (2559). ภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(ฉบับพิเศษ), 180-186.
พรทิพย์ อนุพัฒน์ และคณะ. (2566). พรหมวิหาร4: กับการบริหารงานบุคคลในองค์กร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(2), 269-282.
พระราชญาณวิสิฐ. (2558). หลักธรรมาภิบาลและประมุขศิลป์. กรุงเทพมหานคร: ชัยมงคลพริ้นติ้ง.
ภาณุวัฒน์ บุญธัญกิจ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครตามทัศนะของผู้บริหารและครู. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2564). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2564 - 2568. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2566 จาก https://philo.mbu.ac.th.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
วิเศษ บุญสนอง. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้อำนวยการโรงเรียนระดับประถมศึกษาขนาดเล็กในศตวรรษที่ 21สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สิทธิศักดิ์ ขุนนาแก้ว. (2550). การศึกษาพฤติกรรมด้านจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2562). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์ปอร์เน็ท.
หนูไกร มาเชค. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัญชิสา ธนากิตติเจริญ. (2552). ศึกษาพฤติกรรมด้านจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Glanz, J. (2006). What every principal should know about cultural leadership. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Kocabas, I. & Karakose, T. (2009). Ethics in school administration. African Journal of Business Management, 3(4), 126-130.
Neubert, M.J. et al. (2009). The virtuous Influence of ethical leadership behavior: from the field. Journal of Business Ethics, 90(2), 157-170.